เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

เตือนภัย! โรคเน่าเละในคะน้า

05 กันยายน 2566
302
ในสภาพอากาศที่มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เฝ้าระวังโรค "โรคเน่าเละ" โรคพืชสุดร้ายแรงของ "คะน้า" ให้เกษตรกรผู้ปลูกลองกองเฝ้าระวังกัน
เตือนภัย! โรคเน่าเละในคะน้า

สาเหตุของโรคเน่าเละในคะน้า

สาเหตุของโรคเน่าเละในคะน้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศชื้น และระบาดหนักในพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะการเจริญเติบโต


อาการของโรคเน่าเละในคะน้า

1. คะน้ามีแผลลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำเล็ก ๆ บนใบหรือบริเวณลำต้น

2. แผลจะขยายลุกลามมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อพืชบริเวณแผลจะยุบตัวลง มีเมือกเยิ้มออกมา

3. มีกลิ่นเหม็นเฉพาะ หลังจากนั้นคะน้าจะเน่ายุบตายไปทั้งต้น

วิธีป้องกันโรคเน่าเละในคะน้า

1. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคเน่าเละมาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี

2. ไม่ควรปลูกคะน้าแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้มีความชื้นสูง

3. ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์