เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

เตือนภัย! หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

25 กรกฏาคม 2566
693
ในสภาพอากาศช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เราจะมาเตือนภัย "หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด" โรคพืชสุดร้ายแรงของ "ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์" ให้เกษตรกรผู้ปลูกลองกองเฝ้าระวังกัน
เตือนภัย! หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ลักษณะของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน หนอนขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 20 มม. ตัวมีสีขาวนวลอมชมพู และมีจุดตามตัว ดักแด้มีสีน้ำตาลอ่อน และสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีน้ำตาลไหม้เกือบดำ


อาการของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อถูกคุกคาม

1. ในระยะออกดอกหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดจะเจาะเข้าไปกินส่วนยอดที่ม้วนอยู่ โดยกัดกินและเจริญเติบโตภายในช่อดอก ทำให้ช่อดอกไม่สามารถคลี่บานได้

2. เกสรตัวผู้ไม่เพียงพอต่อการผสมเกสร ฝักที่ได้จะไม่มีเมล็ด หรือมีเมล็ดไม่เต็มฝัก ทำให้ผลผลิตต่ำ

3. ตัวหนอนเข้าทำลายโดยการเจาะที่ก้านฝัก หรือโคนฝัก


วิธีป้องกันหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

1. สำรวจแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

2. หากพบเจอข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ถูกทำลายจนมีความเสียหายจนทรุดโทรม ให้รีบทำลายทิ้งเพื่อตัดวงจรชีวิตขอหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์