เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

#เตือนภัย! ด้วงหนวดยาว ในอ้อย

02 พฤษภาคม 2566
279
ในอาทิตย์นี้เราจะมาเตือนภัย "ด้วงหนวดยาว" ศัตรูพืชตัวร้ายของ "อ้อย" ให้เกษตรกรผู้ปลูกให้เฝ้าระวังกัน

ลักษณะของด้วงหนวดยาว

"ด้วงหนวดยาว" วัยเต็มตัวจะมีลำตัวยาวประมาณ 25-40 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงออกน้ำตาล เพศผู้และเพศเมียจะมีลักษณะต่า่งกันออกไป โดยสังเกตได้จาก ตัวผู้จะมีหน้าท้องเว้า ส่วนตัวเมียจะมีหน้าท้องมนและมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าเพศผู้ โดยจะวางไข่ลงดิน จำนวน 500-600 ฟอง



ลักษณะของอ้อยเมื่อถูกทำลายโดยด้วงหนวดยาว

1. โดยระยะเริ่มปลูก จะพบตัวหนอนของด้วงหนวดยาวเข้ามาทำลาย โดยจะเข้าไปไชกัดกินเนื้ออ้อย ทำให้ท่อนพันธุ์ไม่งอก

2. หน่ออ้อยอายุประมาณ 1-3 เดือน จะถูกกัดกินโคนที่ติดกับเหง้า ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย

3. ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวที่ตัวเล็กจะกัดกินบริเวณเหง้าอ้อย ทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบลดลง

4. หากหนอนของด้วงหนวดยาวตัวใหญ่ขึ้นจะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นขึ้นไปกินเนื้ออ้อย ทำให้ลำต้นเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก หักล้มและแห้งตาย




วิธีป้องกันด้วงหนวดยาว

1. ไถพรวนดินแล้วเก็บตัวหนอนและดักแด้ของด้วงหนวดยาวตามรอยทีไถ ก่อนปลูกอ้อย

2. จับตัวเต็มวัยของด้วงหนวดยาวอ้อยนำไปทำลายทิ้ง

3. ในช่วงฝนตกให้หมั่นสำรวจแปลงอ้อยให้ดี หากเจอด้วงหนวดยาวควรรีบนำไปกำจัดทิ้งทันที
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กรมวิชาการเกษตร