เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

#เตือนภัย! หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดในข้าวโพดหวาน

28 มีนาคม 2566
406
ในในสภาพอากาศร้อนกับมีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรผู้ปลูก "ข้าวโพดหวาน" ในระยะออกดอกถึงระยะติดฝัก ควรเฝ้าระวังกับ "หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด" ที่วันนี้เราจะมาเตือนภัยถึงความร้ายแรงของศัตรูพืชชนิดนี้

ลักษณะของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด มีขนาดตัวหนอนโตเต็มที่ยาว 35 - 40 มิลลิเมตร มีสีแตกต่างกันเช่น เหลือง น้ำตาล เขียว เทา เป็นต้น และมีแถบสีดำใหญ่ พาดตามคด้านข้าง ส่วนหัวมีสีเหลืองน้ำตาล ระยะเข้าดักแด้ จะมีสีเขียว ตัวนิ่มแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสีน้ำตาลผิวหนาขึ้นและเป็นสีน้ำตาลดำก่อนที่ออกเป็นตัวเต็มวัยผีเสื้อ



ลักษณะของข้าวโพดหวานเมื่อถูกทำลายด้วยหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

1. ในระยะออกดอก หนอนจะเจาะเข้าไปกินส่วนยอดที่ม้วนอยู่ โดยกัดกินและเจริญเติบโตภายในช่อดอก ทำให้ช่อดอกไม่สามารถคลี่บานได้

2. เกสรตัวผู้ไม่เพียงพอต่อการผสมเกสร ฝักที่ได้จะไม่มีเมล็ด หรือมีเมล็ดไม่เต็มฝัก

3. ตัวหนอนหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเข้าทำลายโดยการเจาะที่ก้านฝัก หรือโคนฝัก


วิธีป้องกันและดูแล

1. สำรวจแปลงข้าวโพดหวาน ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

2. หากพบเจอข้าวโพดหวานที่ถูกทำลายจนมีความเสียหายจนทรุดโทรม ให้รีบทำลายทิ้งเพื่อตัดวงจรชีวิตของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กรมวิชาการเกษตร