เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

#เตือนภัย! เพลี้ยไฟในถั่วเขียว

28 กุมภาพันธ์ 2566
751
ในช่วงนี้ เกษตรกรผู้ปลูก "ถั่วเขียว" ในระยะออกดอก-ติดฝักอ่อน ควรเฝ้าระวังกับ "เพลี้ยไฟ" ที่วันนี้เราจะมาเตือนภัยถึงความร้ายแรงของศัตรูพืชชนิดนี้
AWเตือนภัยเกษตร_23_02_27_02

ลักษณะของเพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูดที่มีลักษณะเล็กมาก มีรูปร่างเรียว ลำตัวยาวประมาณเพียง 1-2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนจะไม่มีปีก ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนออกไปทางเหลือง ส่วนตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลดำ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเคลื่อนที่ได้เร็วมาก ทำให้สังเกตได้ยาก



ลักษณะของถั่วเขียวเมื่อถูกทำลายด้วยเพลี้ยไฟ

1.ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบอ่อน ยอด ตาดอก และดอก ทำให้ใบถั่วเขียวหงิก หรือยอดอ่อนเสียหายหงิกงอ

2.ส่วนต่าง ๆ ของถั่วเขียวที่ถูกทำลายจะเกิดรอยด่าง หงิกงอ บิดเบี้ยวคล้ายใบหด

3.เส้นกลางใบมีสีน้ำตาลเข้ม ใบแห้งกรอบ และหลุดร่วง

4.หากเพลี้ยไฟเข้าทำลายส่วนของฝัก จะทำให้ฝักบิดเบี้ยว ไม่ติดเมล็ด


วิธีป้องกันและดูแล

1.สำรวจและหมั่นตรวจสอบต้นถั่วเขียวเป็นประจำ

2.เมื่อพบต้นถั่วเขียวที่ถูกคุกคามด้วยเพลี้ยไฟ ให้แยกออกมาดูแลและกำจัด ไม่ควรให้อยู่ปะปนกับต้นอื่น

3.หากพบเจอต้นถั่วเขียวที่ถูกทำลายจนมีความเสียหายจนทรุดโทรม ให้รีบทำลายทิ้งเพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยไฟ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กรมวิชาการเกษตร