เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

#เตือนภัย! โรคใบไหม้ในทุเรียน

06 กันยายน 2565
12,602
ในหน้าฝนแบบนี้ เกษตรกรผู้ปลูก "ทุเรียน" ควรเฝ้าระวังกับ "ใบไหม้" โรคร้ายของทุเรียนที่เราจะมาเตือนภัยให้เฝ้าระวังกัน
โรคใบไหม้ทุเรียน

สาเหตุของโรคใบไหม้ในทุเรียน

สาเหตุของโรคใบไหม้ในทุเรียนเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia Solani เป็นเชื้อราชนิดที่รุนแรง ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศชื้น และระบาดหนักในพื้นทที่ที่มีฝนตกหนัก และสามารถเกิดขึ้นในระยะเก็บผลผลิต และระยะเตรียมต้น


อาการของโรคใบไหม้ในทุเรียน

1. จะพบอาการของโรคใบไหม้ที่ใบอ่อน โดยอาการเริ่มแรกพบแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวกบนใบ

2. จากนั้นแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน และจะลุกลามไป ยังใบปกติโดยรอบ

3. ถ้ามีความชื้นสูง Rhizoctonia Solani เชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยมีลักษณะคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน

4. ใบที่เป็นโรคจะไหม้ และหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง โรคจะลุกลามทำให้ใบไหม้เห็นเป็นหย่อม ๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง

5. จากนั้นใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง


วิธีป้องกันและดูแลโรคใบไหม้ในทุเรียน

1. ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งมีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดี เป็นการลดความชื้น

2. สำรวจและดูและพื้นที่เพาะปลูก สวน อย่างสม่ำเสมอ

3. เมื่อพบเจอใบของต้นทุเรียนที่เป็นโรคใบไหม้ ให้ตัดส่วนที่เป็นโรคและไปทำลายนอกบริเวณเพาะปลูกเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อราชนิดนี้

4. แปลงปลูกที่มีความชื้นสูงและมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์