เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

เตือนภัยเพลี้ยไฟในพุทธรักษา

13 ธันวาคม 2564
1,648
เดือนธันวาคม เรียกได้ว่าเป็นเดือนที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ เพราะเป็นเดือนที่มีวันสำคัญๆ ให้เราได้ระลึกถึง รวมไปถึงการได้พักผ่อนในวันหยุดยาวๆ ของคนทำงานในเมืองใหญ่ ที่ได้มีโอกาสหวนกลับบ้านเกิดเพื่อเยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่และไปหาครอบครัวที่รัก และหนึ่งวันที่สำคัญในเดือนนี้ ก็คือ "วันพ่อแห่งชาติ" ที่ผ่านมา วันที่ให้ทุกคนได้บอกรักพ่อและใช้เวลาร่วมกับครอบครัวกันอย่างปีติ และหากจะพูดถึง "วันพ่อ" ก็คงต้องนึกถึง "ดอกพุทธรักษา" ดอกสีเหลือง สดใส เหมาะสมสำหรับการเป็นดอกไม้ประจำ "วันพ่อ" วันสำคัญของคนไทย แต่ในความสวยงามที่เห็นนั้นก็ยังคงต้องเฝ้าระวังภัยร้ายจาก "เพลี้ยไฟ" ศัตรูตัวสำคัญของไม้ดอก ที่ผู้ปลูกควรระวัง
ลักษณะของเพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูดที่มีลักษณะเล็กมาก มีรูปร่างเรียว ลำตัวยาวประมาณเพียง 2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนจะไม่มีปีก ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนออกไปทางเหลือง ส่วนตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลดำ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเคลื่อนที่ได้เร็วมาก ทำให้สังเกตได้ยาก




ลักษณะของดอกพุทธรักษาเมื่อถูกทำลายด้วยเพลี้ยไฟ
- เพลี้ยไฟจะเริ่มทำลายตั้งแต่ดอกของพุทธรักษายังเป็นตาดอก ทำให้ตาดอกเหี่ยวแห้ง

- เมื่อจากดอกถูกทำลายทำให้ต้นไม่สามารถออกดอกได้

- หากถูกคุกคามในช่วงที่ดอกตูม ดอกจะมีรูปร่างผิดปกติ กลีบดอกหงิกงอ

- ดอกพุทธรักษาจะเล็กลง และมีรอยด่างสีน้ำตาลเข้ม
วิธีป้องกันและดูแลโรคใบจุดดำในกุหลาบ
-สำรวจและหมั่นตรวจสอบต้นพุทธรักษาและสวนเป็นประจำ

-เมื่อพบต้นพุทธรักษาที่ถูกคุกคามด้วยเพลี้ยไฟ ให้แยกออกมาดูแลและกำจัด ไม่ควรให้อยู่ปะปนกับต้นอื่น

-หากพบเจอต้นที่ถูกทำลายจนมีความเสียหายจนทรุดโทรม ให้รีบทำลายทิ้งเพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยไฟ


แม้วันพ่อจะผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ดอกพุทธรักษายังคงเบ่งบาน คงความสง่าให้พวกเรายังคงได้ชื่นชมความสวยงามของมันอยู่ หากเพียงแต่เจ้า "เพลี้ยไฟ" ตัวร้ายที่คอยจ้องจะเข้ามาทำลาย ท่านใดที่ปลูก "พุทธรักษา" ก็ควรหมั่นและสังเกต และดูแลต้นไม้ของตัวเองอยู่สม่ำเสมอ เพื่อคงความสวยงามยืนยาวไปตลอดทั้งปีนะครับ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ไทยเกษตรศาสตร์ : https://www.thaikasetsart.com/
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : https://www.doae.go.th/