เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

ระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ระบาดในนาข้าว

30 สิงหาคม 2564
1,195
เกษตรลำปาง แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฝ้าระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เกษตรกรควรให้ความสำคัญและเฝ้าระวังหมั่นสำรวจแปลงข้าวอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดได้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาแนวทางควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร กว้าง 1 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะคือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (brachyterous form) ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย โดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น "hopper burn" ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหารได้ดี

ลักษณะการทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางใบหลังใบข้าวโดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น ?hopper burn? ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหาร เช่น เมื่อมีอาหารมากจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกสั้นและขยายพันธุ์ได้มาก แต่เมื่ออาหารมีน้อยจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกยาวเพื่ออพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ https://bit.ly/3sWKFU8