- หน้าหลัก
- เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร
- ข่าวเกษตร

เปิดตัวยางพันธุ์ใหม่ RRIT3904 โตไว-ให้น้ำยางสูง
30 กันยายน 2563
8,531
กยท.เปิดตัวยางพาราไทยพันธุ์ใหม่ RRIT3904 ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี รวมถึงให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 400 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)เปิดเผยว่า กยท. โดยสถาบันวิจัยยางคิดค้นและพัฒนาพันธุ์ยางพาราใหม่ตามกระบวนการขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และประสบผลสำเร็จได้ยางพาราพันธุ์ RRIT 3904 เข้าสู่คำแนะนำพันธุ์ยาง พร้อมขยายส่งมอบสู่เกษตรกร โดยยางพันธุ์นี้ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 400 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 ถึง 2 เท่าตัว โดยพันธุ์ RRIT 3904 นี้ ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ RRII 203 และ PB 235 ที่นอกจากมีความโดดเด่นด้านผลผลิตน้ำยางแล้ว ยังเด่นด้านการเจริญเติบโต ลำต้นตรงแตกกิ่งน้อยทำให้ได้ปริมาณเนื้อไม้มากเมื่อตัดโค่น ใบเขียวเข้ม ค่อนข้างต้านทานต่อโรคทางใบ เช่น โรคราแป้ง โรคไฟทอปธอร่า นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากมาเลเซียว่ายางพันธุ์ PB 235 ซึ่งเป็นพ่อของยางพันธุ์นี้ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา น้อยกว่าเมื่อเทียบกับยางพันธุ์อื่น ซึ่งอยู่ระหว่างสำรวจและติดตามผลกระทบของโรคใบร่วงชนิดใหม่ต่อยางพันธุ์นี้ด้วย และหวังว่าลักษณะเด่นด้านต้านทานโรคใบร่วงชนิดใหม่จากพันธุ์พ่อ จะถ่ายทอดมาสู่ลูก
ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)เปิดเผยว่า กยท. โดยสถาบันวิจัยยางคิดค้นและพัฒนาพันธุ์ยางพาราใหม่ตามกระบวนการขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และประสบผลสำเร็จได้ยางพาราพันธุ์ RRIT 3904 เข้าสู่คำแนะนำพันธุ์ยาง พร้อมขยายส่งมอบสู่เกษตรกร โดยยางพันธุ์นี้ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 400 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 ถึง 2 เท่าตัว โดยพันธุ์ RRIT 3904 นี้ ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ RRII 203 และ PB 235 ที่นอกจากมีความโดดเด่นด้านผลผลิตน้ำยางแล้ว ยังเด่นด้านการเจริญเติบโต ลำต้นตรงแตกกิ่งน้อยทำให้ได้ปริมาณเนื้อไม้มากเมื่อตัดโค่น ใบเขียวเข้ม ค่อนข้างต้านทานต่อโรคทางใบ เช่น โรคราแป้ง โรคไฟทอปธอร่า นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากมาเลเซียว่ายางพันธุ์ PB 235 ซึ่งเป็นพ่อของยางพันธุ์นี้ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา น้อยกว่าเมื่อเทียบกับยางพันธุ์อื่น ซึ่งอยู่ระหว่างสำรวจและติดตามผลกระทบของโรคใบร่วงชนิดใหม่ต่อยางพันธุ์นี้ด้วย และหวังว่าลักษณะเด่นด้านต้านทานโรคใบร่วงชนิดใหม่จากพันธุ์พ่อ จะถ่ายทอดมาสู่ลูก
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
แนวหน้า



ส่งอีเมล์ให้เพื่อน
ส่งให้เพื่อนหลายคนใส่เครื่องหมาย , ขั้นระหว่างชื่ออีเมล์ (ส่ง 1 ครั้งได้ไม่เกิน 50 อีเมล์)