นอกจากนี้ ไทยได้นำเสนอต่อที่ประชุมเกี่ยวกับมาตรการสร้างเสถียรภาพราคายาง 5 มาตรการ 1.มาตรการบริหารจัดการการผลิต โดยไทยมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมด้วยการโค่นยางเพื่อไปปลูกพืชอื่น ซึ่งจะจำกัดปริมาณผลผลิตให้มีความสมดุลกับความต้องการใช้ ปีละ 200,000 ไร่ 2.มาตรการการปลูกยางพาราร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่น 3.เพิ่มการใช้ยางในประเทศ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยการรณรงค์ให้หน่วยงานภาครัฐ เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ สระน้ำ ยางปูพื้น ถนนยางพารา 4.มาตรการหยุดกรีด โดยให้พื้นที่ปลูกยางในหน่วยงานภาครัฐ ยกเว้นพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย หยุดกรีดยางเป็น 3 เดือน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ เพื่อลดปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด นอกจากนี้ไทยยังมีแนวคิดในการลดพื้นที่กรีดยางเพิ่มเติมอีก 2 แนวทาง ได้แก่ หยุดกรีดยาง 3 ล้านไร่ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่พฤษภาคมถึงกรกฎาคม และหยุดกรีดยางทุกไร่ โดยให้กรีดแบบวันเว้นวัน และ 5.มาตรการการควบคุมการผลิต-ราคายางพารา ที่ปัจจุบันยางพาราของประเทศไทยเป็นสินค้าควบคุม โดยกระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาดูกลไกราคายางพารา
"ในการประชุม ไทยได้ขอให้ประเทศสมาชิกรับไปพิจารณา คือ มาตรการหยุดกรีดยาง และคณะกรรมการราคายางระหว่างประเทศ ซึ่งเบื้องต้นจากการหารือนั้น อินโดนีเซียสนใจมากที่สุดในเรื่องการลดกรีดยาง โดยแต่ละประเทศจะนำข้อเสนอไปพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันต่อไป" นายกฤษฎา กล่าว
"ในการประชุม ไทยได้ขอให้ประเทศสมาชิกรับไปพิจารณา คือ มาตรการหยุดกรีดยาง และคณะกรรมการราคายางระหว่างประเทศ ซึ่งเบื้องต้นจากการหารือนั้น อินโดนีเซียสนใจมากที่สุดในเรื่องการลดกรีดยาง โดยแต่ละประเทศจะนำข้อเสนอไปพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันต่อไป" นายกฤษฎา กล่าว