รายงานข่าวแจ้งว่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย ได้จัดเสวนาเรื่อง "ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ...กับอนาคตเกษตรกรไทย" วานนี้ (9 พ.ย.) ที่อาคารซี 5 หรืออาคาร พล.ต.อ.เภา สารสิน โดยมี ดร.รุ่ง ศรีสมวงษ์ รักษาการคณบดีสำนักวิชานิติศาสตร์ มฟล.เป็นประธาน และ รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอาจารย์อริศรา เหล็กคำ อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มฟล.ร่วมเสวนา และ ดร.อัจฉริยา วงษ์บูรณาวาทย์ อาจารย์ประจำสำนักวิชานิติศาสตร์ มฟล.ดำเนินรายการ
ดร.รุ่งระบุว่า หากประกาศบังคับใช้กฎหมายตามร่างนี้จะมีผลกระทบต่อเกษตรกร และความมั่นคงทางอาหาร ประชาชนจึงควรแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของประเทศ
ดร.อัจฉริยากล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มุ่งคุ้มครองผู้ปรับปรุงสายพันธุ์พืชใหม่ และขยายระยะเวลาคุ้มครองจากเดิม 10 ปีเป็น 20-25 ปี ครอบคลุมทั้งผลผลิต ผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ จึงสงสัยว่าเหมาะกับเกษตรกรรายย่อยอย่างไทยเราหรือไม่ ขณะที่เกษตรกรเสี่ยงต่อการต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาแพง เพราะถ้านำเมล็ดพันธุ์ตัวเองมาปลูกก็จะต้องโทษทั้งคดีอาญา และแพ่ง
ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร ผู้ยกร่างอ้างว่า เพื่อให้ทันสถานการณ์ และมาตรฐานสากลตามอนุสัญญา "UPOV 1991" ทั้งๆ ที่ไทยเราไม่ได้เป็นภาคี ในอาเซียนมีเพียงสิงคโปร์และเวียดนามเท่านั้นที่เป็นภาคี จึงสงสัยว่าเหตุใดจึงเร่งรีบลักไก่ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบ และที่ไม่มีความพร้อม
"ลักษณะเหมือนถูกควบคุมโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ฯลฯ ยกตัวอย่างกรณีเรื่องสิทธิบัตรยารักษาโรคที่ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป พยายามขยายสิทธิการคุ้มครองเพื่อประโยชน์ของเขา ทำให้ผู้ซื้อยาต้องซื้อในราคาที่แพงขึ้น ดังนั้นจึงควรค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี"
ดร.สุรวิชกล่าวว่า ตนในฐานะที่เป็นกรรมการยกร่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องนี้ ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้ UPOV 1991 เพราะใช้พื้นฐานมาจากการมีเกษตรกรรมรายใหญ่แบบชาติตะวันตก แต่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อย
เนื้อหาร่างกฎหมายใหม่ยังสอดแทรกผลกระทบหลายจุด เช่น นิยามคำว่า "พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป" ว่าคือพันธุ์พืชที่กำเนิดในประเทศ หรือมีอยู่ในประเทศ แต่กลับเพิ่มเติมว่า ?ไม่รวมพันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พืชป่า หรือพันธุ์พืชที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นพันธุ์ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืช? เข้าไปอีก
"สมมติว่าชาวนาไทยปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง 1 แปลง และมีผู้ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่มาปลูกใกล้กัน แล้วเกสรปลิวไปผสมกับข้าวของชาวนา เมื่อชาวนาไปเก็บเกี่ยวก็ถือว่าผิดกฎหมายเพราะไม่ใช่พันธุ์ของตัวเองแล้ว ชาวนาจึงกลายเป็นอาชญากรเพราะละเมิดกฎหมายอาญา นี่เป็นความวิกฤตที่จะเกิดขึ้นและน่าเป็นห่วงอย่างมาก"
ดร.สุรวิชกล่าวอีกว่า ในอดีตมีการใช้เทคนิคบีบให้ชาวนาซื้อเมล็ดพันธุ์พืชจากนายทุน แต่ปัจจุบันจะใช้กฎหมายเชิงบังคับเพื่อให้กลายเป็นทาสไปตลอด เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชของตนต้องยื่นขอให้เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปตรวจสอบ ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ถูกรายใหญ่กลืนไปในที่สุด
"ร่าง พ.ร.บ.นี้ยังมีการสอดแทรกอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นผมได้ยื่นหนังสือขอให้แก้ไข 6-7 มาตราต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตรแล้ว และจะยื่นต่อ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวันที่ 20 พ.ย.นี้่ด้วย"
ดร.สุรวิชกล่าวอีกว่า กลุ่มอำนาจที่ผลักดันให้มีร่างกฎหมายใหม่นี้เป็นกลุ่มเดียวกับที่ผลักดันให้มี GMO ในประเทศไทย และถ้าเปิดฟรี GMO จะทำให้มีการปลูกกันอย่างมากมาย ทั้งทำให้ประเทศคู่ค้าของไทยขอดูใบรับรองสินค้าปลอด GMO ทำให้ผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมาคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มจากเกษตรกรได้ด้วย
ด้าน ดร.สมชายกล่าวว่า กฎหมายเดิมอนุญาตให้มีการปลูก GMO แต่ต้องมีกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ร่างกฎหมายใหม่ไม่มี ทำให้สามารถเข้ามาปลูกและทำลายความหลากหลายของพืชท้องถิ่นของไทยได้ ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรมักจะอ้างว่าเพื่อให้สอดคล้องกับนานาชาติ แต่กรณีนี้ประเทศมาเลเซียไม่เปิดช่องให้ปลูก GMO เลย จึงสงสัยว่าเหตุใดไม่อ้างวิธีการของมาเลเซียบ้าง
ดร.สมชายกล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มาตรฐานนานาชาติอยู่แล้ว เพราะหลักการว่าผู้ใดเข้ามาใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชพื้นเมืองต้องขออนุญาตก่อน และเมื่อนำไปใช้ประโยชน์ก็มีการแบ่งปันกลับมา แต่ร่างกฎหมายใหม่ได้แก้คำนิยาม ทำให้หลายชนิดต้องหลุดออกจากการเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป เอื้อต่อการเข้ามาใช้พันธุ์พืชของไทยได้จนถึงขั้นแปรรูป จัดการ และขายได้แบบครบวงจรโดยไม่ผิดกฎหมาย
หรือถ้าเขาคิดค้นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นก็จะได้รับการคุ้มครองสูงมาก เช่น พืชมะม่วง ก็จะถูกผูกขาดตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ผลผลิต ฯลฯ ถ้าชาวบ้านซื้อไปทำเป็นมะม่วงกวน ก็จะถูกฟ้อง เพราะนำสายพันธุ์ของเขาไปใช้ประโยชน์
"เชื่อว่าถ้าประกาศบังคับใช้จะทำให้สังคมวุ่นวายทั้งระบบเพราะจะเกิดการฟ้องร้องกัน ชาวบ้านถูกดำเนินคดีถึงขั้นถูกจำคุก เกิดกลุ่มติดตามตรวจสอบเรื่องสิทธิบัตรเพื่อแจ้งความกันไปทั่ว ยิ่งมีข้อกำหนดให้ดำเนินการกับพืชที่ผสมข้ามสายพันธุ์กันได้ก็จะยิ่งวุ่นวายหนักขึ้นไปอีก"
ดร.สมชายยกตัวอย่างมาตรา 35 ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช มีอำนาจออกประกาศกำหนดพันธุ์พืชใหม่ชนิดใดเป็นพันธุ์พืชที่สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูก หรือการขยายพันธุ์ทั้งหมด หรือบางส่วนของเกษตรกรได้ โดยกรรมการฯ ก็มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีทั้งหมด ขณะที่กฎหมายเดิมมาจากการเลือกตั้งของเกษตรกร ซึ่งตนเชื่อว่าเกษตรกรไม่ทรยศชาติของตัวเองแน่ แต่รูปแบบใหม่นี้ไม่แน่
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามักมีการอ้างว่ากฎหมายเดิมทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ของกลุ่มทุนต่างๆ ทำให้ได้กำไรน้อย แต่หากใช้ร่างกฎหมายใหม่จะทำให้ได้กำไรเต็ม 100% ซึ่งจะทำให้ผลผลิตและเมล็ดพันธุ์ราคาต่ำลงนั้น ตนไม่เชื่อ เพราะมีตัวอย่างกรณีเรื่องสิทธิบัตรยา แม้จะมีกฎหมายเข้มงวด แต่ยาก็แพงขึ้นอยู่ดี
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการเสวนามีเกษตรกรบางส่วนจาก อ.แม่สรวยแสดงความเห็นว่า ไม่เคยทราบเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่นี้มาก่อน และก็รู้สึกตกใจที่ได้ทราบว่าจะมีผลกระทบ โดยเฉพาะกรณีเรื่องการต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ เพราะตามปกติชาวนาจะเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวของตัวเองเอาไว้เพาะปลูก หรือซื้อขายกันเองภายในท้องถิ่น โดยไม่ต้องซื้อจากนายทุน เวทีเสวนาจึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นที่หน้าเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตรหรือเวทีต่างๆ ที่หน่วยงานราชการจะไปรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้ต่อไป
ดร.รุ่งระบุว่า หากประกาศบังคับใช้กฎหมายตามร่างนี้จะมีผลกระทบต่อเกษตรกร และความมั่นคงทางอาหาร ประชาชนจึงควรแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของประเทศ
ดร.อัจฉริยากล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มุ่งคุ้มครองผู้ปรับปรุงสายพันธุ์พืชใหม่ และขยายระยะเวลาคุ้มครองจากเดิม 10 ปีเป็น 20-25 ปี ครอบคลุมทั้งผลผลิต ผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ จึงสงสัยว่าเหมาะกับเกษตรกรรายย่อยอย่างไทยเราหรือไม่ ขณะที่เกษตรกรเสี่ยงต่อการต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาแพง เพราะถ้านำเมล็ดพันธุ์ตัวเองมาปลูกก็จะต้องโทษทั้งคดีอาญา และแพ่ง
ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร ผู้ยกร่างอ้างว่า เพื่อให้ทันสถานการณ์ และมาตรฐานสากลตามอนุสัญญา "UPOV 1991" ทั้งๆ ที่ไทยเราไม่ได้เป็นภาคี ในอาเซียนมีเพียงสิงคโปร์และเวียดนามเท่านั้นที่เป็นภาคี จึงสงสัยว่าเหตุใดจึงเร่งรีบลักไก่ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบ และที่ไม่มีความพร้อม
"ลักษณะเหมือนถูกควบคุมโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ฯลฯ ยกตัวอย่างกรณีเรื่องสิทธิบัตรยารักษาโรคที่ทั้งสหรัฐฯ และยุโรป พยายามขยายสิทธิการคุ้มครองเพื่อประโยชน์ของเขา ทำให้ผู้ซื้อยาต้องซื้อในราคาที่แพงขึ้น ดังนั้นจึงควรค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี"
ดร.สุรวิชกล่าวว่า ตนในฐานะที่เป็นกรรมการยกร่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องนี้ ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้ UPOV 1991 เพราะใช้พื้นฐานมาจากการมีเกษตรกรรมรายใหญ่แบบชาติตะวันตก แต่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อย
เนื้อหาร่างกฎหมายใหม่ยังสอดแทรกผลกระทบหลายจุด เช่น นิยามคำว่า "พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป" ว่าคือพันธุ์พืชที่กำเนิดในประเทศ หรือมีอยู่ในประเทศ แต่กลับเพิ่มเติมว่า ?ไม่รวมพันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พืชป่า หรือพันธุ์พืชที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นพันธุ์ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืช? เข้าไปอีก
"สมมติว่าชาวนาไทยปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง 1 แปลง และมีผู้ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่มาปลูกใกล้กัน แล้วเกสรปลิวไปผสมกับข้าวของชาวนา เมื่อชาวนาไปเก็บเกี่ยวก็ถือว่าผิดกฎหมายเพราะไม่ใช่พันธุ์ของตัวเองแล้ว ชาวนาจึงกลายเป็นอาชญากรเพราะละเมิดกฎหมายอาญา นี่เป็นความวิกฤตที่จะเกิดขึ้นและน่าเป็นห่วงอย่างมาก"
ดร.สุรวิชกล่าวอีกว่า ในอดีตมีการใช้เทคนิคบีบให้ชาวนาซื้อเมล็ดพันธุ์พืชจากนายทุน แต่ปัจจุบันจะใช้กฎหมายเชิงบังคับเพื่อให้กลายเป็นทาสไปตลอด เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชของตนต้องยื่นขอให้เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปตรวจสอบ ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ถูกรายใหญ่กลืนไปในที่สุด
"ร่าง พ.ร.บ.นี้ยังมีการสอดแทรกอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นผมได้ยื่นหนังสือขอให้แก้ไข 6-7 มาตราต่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตรแล้ว และจะยื่นต่อ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวันที่ 20 พ.ย.นี้่ด้วย"
ดร.สุรวิชกล่าวอีกว่า กลุ่มอำนาจที่ผลักดันให้มีร่างกฎหมายใหม่นี้เป็นกลุ่มเดียวกับที่ผลักดันให้มี GMO ในประเทศไทย และถ้าเปิดฟรี GMO จะทำให้มีการปลูกกันอย่างมากมาย ทั้งทำให้ประเทศคู่ค้าของไทยขอดูใบรับรองสินค้าปลอด GMO ทำให้ผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมาคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มจากเกษตรกรได้ด้วย
ด้าน ดร.สมชายกล่าวว่า กฎหมายเดิมอนุญาตให้มีการปลูก GMO แต่ต้องมีกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ร่างกฎหมายใหม่ไม่มี ทำให้สามารถเข้ามาปลูกและทำลายความหลากหลายของพืชท้องถิ่นของไทยได้ ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรมักจะอ้างว่าเพื่อให้สอดคล้องกับนานาชาติ แต่กรณีนี้ประเทศมาเลเซียไม่เปิดช่องให้ปลูก GMO เลย จึงสงสัยว่าเหตุใดไม่อ้างวิธีการของมาเลเซียบ้าง
ดร.สมชายกล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มาตรฐานนานาชาติอยู่แล้ว เพราะหลักการว่าผู้ใดเข้ามาใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชพื้นเมืองต้องขออนุญาตก่อน และเมื่อนำไปใช้ประโยชน์ก็มีการแบ่งปันกลับมา แต่ร่างกฎหมายใหม่ได้แก้คำนิยาม ทำให้หลายชนิดต้องหลุดออกจากการเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป เอื้อต่อการเข้ามาใช้พันธุ์พืชของไทยได้จนถึงขั้นแปรรูป จัดการ และขายได้แบบครบวงจรโดยไม่ผิดกฎหมาย
หรือถ้าเขาคิดค้นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นก็จะได้รับการคุ้มครองสูงมาก เช่น พืชมะม่วง ก็จะถูกผูกขาดตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ผลผลิต ฯลฯ ถ้าชาวบ้านซื้อไปทำเป็นมะม่วงกวน ก็จะถูกฟ้อง เพราะนำสายพันธุ์ของเขาไปใช้ประโยชน์
"เชื่อว่าถ้าประกาศบังคับใช้จะทำให้สังคมวุ่นวายทั้งระบบเพราะจะเกิดการฟ้องร้องกัน ชาวบ้านถูกดำเนินคดีถึงขั้นถูกจำคุก เกิดกลุ่มติดตามตรวจสอบเรื่องสิทธิบัตรเพื่อแจ้งความกันไปทั่ว ยิ่งมีข้อกำหนดให้ดำเนินการกับพืชที่ผสมข้ามสายพันธุ์กันได้ก็จะยิ่งวุ่นวายหนักขึ้นไปอีก"
ดร.สมชายยกตัวอย่างมาตรา 35 ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช มีอำนาจออกประกาศกำหนดพันธุ์พืชใหม่ชนิดใดเป็นพันธุ์พืชที่สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูก หรือการขยายพันธุ์ทั้งหมด หรือบางส่วนของเกษตรกรได้ โดยกรรมการฯ ก็มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีทั้งหมด ขณะที่กฎหมายเดิมมาจากการเลือกตั้งของเกษตรกร ซึ่งตนเชื่อว่าเกษตรกรไม่ทรยศชาติของตัวเองแน่ แต่รูปแบบใหม่นี้ไม่แน่
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามักมีการอ้างว่ากฎหมายเดิมทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ของกลุ่มทุนต่างๆ ทำให้ได้กำไรน้อย แต่หากใช้ร่างกฎหมายใหม่จะทำให้ได้กำไรเต็ม 100% ซึ่งจะทำให้ผลผลิตและเมล็ดพันธุ์ราคาต่ำลงนั้น ตนไม่เชื่อ เพราะมีตัวอย่างกรณีเรื่องสิทธิบัตรยา แม้จะมีกฎหมายเข้มงวด แต่ยาก็แพงขึ้นอยู่ดี
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการเสวนามีเกษตรกรบางส่วนจาก อ.แม่สรวยแสดงความเห็นว่า ไม่เคยทราบเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่นี้มาก่อน และก็รู้สึกตกใจที่ได้ทราบว่าจะมีผลกระทบ โดยเฉพาะกรณีเรื่องการต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ เพราะตามปกติชาวนาจะเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวของตัวเองเอาไว้เพาะปลูก หรือซื้อขายกันเองภายในท้องถิ่น โดยไม่ต้องซื้อจากนายทุน เวทีเสวนาจึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นที่หน้าเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตรหรือเวทีต่างๆ ที่หน่วยงานราชการจะไปรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้ต่อไป