โดยโครงการยางล้อประชารัฐ กยท.จะร่วมกับบริษัทเอกชนผลิตยางล้อรถยนต์นั่งที่มีส่วนผสมของยางพาราเพิ่มขึ้น โดยนำร่องขอความร่วมมือขายให้กับสหกรณ์รถแท็กซี่ และผู้ประกอบการรถแท็กซี่ ขณะนี้ มีรถแท็กซี่ที่ขึ้นทะเบียนประมาณ 73,000 คันหากทุกคันมีการเปลี่ยนยางล้อปีละ 1 ครั้ง จะมีการใช้ยางล้อ 292,000 เส้น เป็นการใช้ยางเพิ่มขึ้นอย่างน้อยจำนวน 584,000 กิโลกรัมต่อปี นอกจากนี้กยท. จะนำโครงการดังกล่าว มาใช้กับรถยนต์ประเภทต่างๆ ของ กยท. ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 333 คันต้องใช้ยางล้อประมาณ 1,400 เส้น และจะขยายสู่หน่วยงานราชการอื่นๆ ตั้งเป้ารถยนต์ในปี 2560 ประมาณ 5,000 คัน ทั้งนี้โครงการยางล้อประชารัฐใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการประมาณ 2 ปีคือตั้งแต่มกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2561 คาดการณ์ปริมาณการใช้ยางในประเทศจะเพิ่มไม่ต่ำกว่า 48 ตันต่อปี
"หากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ หรือภาคเอกชน ต่างช่วยกันสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับยางพารา จะเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้เกิดการหมุนเวียนภายในประเทศ รวมทั้ง ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณภาพและความมั่นใจต่อสินค้าของไทย อาจเริ่มต้นจากการผลิตยางล้อ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคคนไทยทุกคนส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ และมีการใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างสูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคอย่างแน่นอน" นายณกรณ์ กล่าว
"หากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ หรือภาคเอกชน ต่างช่วยกันสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับยางพารา จะเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้เกิดการหมุนเวียนภายในประเทศ รวมทั้ง ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณภาพและความมั่นใจต่อสินค้าของไทย อาจเริ่มต้นจากการผลิตยางล้อ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคคนไทยทุกคนส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ และมีการใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างสูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคอย่างแน่นอน" นายณกรณ์ กล่าว