ผลการศึกษาพบว่า เนื้อที่ปลูกสับปะรดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 4 จังหวัด ปี 2558 รวม 416 ไร่ แบ่งเป็นปลูกแบบแปลงเดี่ยว 358.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 86 และปลูกแซมสวนยางพารา จำนวน 57.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 14 เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกพันธุ์สายน้ำผึ้ง ร้อยละ 76 ปัตตาเวีย ร้อยละ 14 สายพันธุ์อื่นๆ ร้อยละ 10 โดยนิยมใช้หน่อในการเพาะปลูก สำหรับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 13,314.07 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 5,639.90 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 9.13 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรได้รับผลตอบแทนโดยรวมเฉลี่ย 51,492.32 บาทต่อไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ 38,178.25 บาทต่อไร่
ด้านวิถีการตลาด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายให้พ่อค้าผู้รวบรวมผลผลิต (ร้อยละ 54) รองลงมาคือ ตัวแทนบริษัทหรือโรงงาน (ร้อยละ 22) พ่อค้าต่างถิ่น (ร้อยละ 20) และเกษตรกรเก็บไว้ขายเองที่ตลาด (ร้อยละ 4) ทั้งนี้ พ่อค้าผู้รวบรวมผลผลิตและพ่อค้าต่างถิ่น จะขายต่อให้กับพ่อค้าปลีกและนำออกสู่ตลาดเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภค (บริโภคผลสด) คิดเป็นร้อยละ 78 และตัวแทนบริษัท/โรงงานขายให้โรงงานแปรรูป เพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคแปรรูปคิดเป็นร้อยละ 22
จากการศึกษา สศท.3 พบข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาและปรับปรุงสายพันธุ์สับปะรดให้มีลักษณะเด่น โดยเฉพาะสับปะรดบริโภคผลสดพันธุ์พื้นเมือง (ไร่ม่วง) ของ จ.เลย เนื่องจากเกษตรกรหันมาให้ความสนใจปลูกเพิ่มขึ้น อีกทั้งควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำ เช่น ระบบน้ำหยด ระบบสปริงเกอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับดอกและผลผลิตให้ออกนอกฤดู จะทำให้เพิ่มมูลค่าทางการตลาด และลดความเสี่ยงได้มาก
ด้านวิถีการตลาด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายให้พ่อค้าผู้รวบรวมผลผลิต (ร้อยละ 54) รองลงมาคือ ตัวแทนบริษัทหรือโรงงาน (ร้อยละ 22) พ่อค้าต่างถิ่น (ร้อยละ 20) และเกษตรกรเก็บไว้ขายเองที่ตลาด (ร้อยละ 4) ทั้งนี้ พ่อค้าผู้รวบรวมผลผลิตและพ่อค้าต่างถิ่น จะขายต่อให้กับพ่อค้าปลีกและนำออกสู่ตลาดเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภค (บริโภคผลสด) คิดเป็นร้อยละ 78 และตัวแทนบริษัท/โรงงานขายให้โรงงานแปรรูป เพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคแปรรูปคิดเป็นร้อยละ 22
จากการศึกษา สศท.3 พบข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาและปรับปรุงสายพันธุ์สับปะรดให้มีลักษณะเด่น โดยเฉพาะสับปะรดบริโภคผลสดพันธุ์พื้นเมือง (ไร่ม่วง) ของ จ.เลย เนื่องจากเกษตรกรหันมาให้ความสนใจปลูกเพิ่มขึ้น อีกทั้งควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำ เช่น ระบบน้ำหยด ระบบสปริงเกอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับดอกและผลผลิตให้ออกนอกฤดู จะทำให้เพิ่มมูลค่าทางการตลาด และลดความเสี่ยงได้มาก