ถึงแม้หอมแดงของไทย จะขึ้นชื่อและได้รับการยอมรับในเรื่องกลิ่นและรสชาติความอร่อย โดยเฉพาะหอมแดงศรีสะเกษ ถือว่ามีชื่อเสียงมาก แต่ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงยังมีต้นทุนการผลิตสูงถึง 26,800 บาท/ไร่ หรือประมาณ 14 บาท/กิโลกรัม ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งอย่างเวียดนาม อินเดีย และจีน ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้มีทางออกสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในการลดต้นทุนการผลิตลงซึ่งสามารถทำได้ไม่ยาก
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตหอมแดงเพิ่มขึ้น คือ หัวพันธุ์หอมแดงซึ่งมีราคาแพง อยู่ที่ประมาณ 31-32 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ผลิตหัวพันธุ์เอง แต่อาศัยซื้อหัวพันธุ์จากภายนอกเป็นหลัก จึงต้องแบกรับภาระค่าหัวพันธุ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกัน การซื้อหัวพันธุ์หอมแดงจากต่างถิ่นทำให้มีความเสี่ยงเรื่องโรคและแมลงศัตรูหอมที่อาจติดมากับหัวพันธุ์ อาทิ โรคหอมเลื้อยหรือแอนแทรกโนส หนอนกระทู้หอม และหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นต้น ดังนั้น เกษตรกรควรแบ่งพื้นที่ผลิตหัวพันธุ์ไว้ใช้เอง หรือซื้อหัวพันธุ์สะอาดจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ จะช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรได้ถึง 41%
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตหอมแดงเพิ่มขึ้น คือ หัวพันธุ์หอมแดงซึ่งมีราคาแพง อยู่ที่ประมาณ 31-32 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ผลิตหัวพันธุ์เอง แต่อาศัยซื้อหัวพันธุ์จากภายนอกเป็นหลัก จึงต้องแบกรับภาระค่าหัวพันธุ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกัน การซื้อหัวพันธุ์หอมแดงจากต่างถิ่นทำให้มีความเสี่ยงเรื่องโรคและแมลงศัตรูหอมที่อาจติดมากับหัวพันธุ์ อาทิ โรคหอมเลื้อยหรือแอนแทรกโนส หนอนกระทู้หอม และหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นต้น ดังนั้น เกษตรกรควรแบ่งพื้นที่ผลิตหัวพันธุ์ไว้ใช้เอง หรือซื้อหัวพันธุ์สะอาดจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ จะช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรได้ถึง 41%
กรมวิชาการเกษตรมีเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์หอมแดงสะอาด ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในการผลิตหัวพันธุ์ได้ เบื้องต้นต้องเตรียมแปลงปลูกโดยเก็บเศษซากหอมแดงเก่าออกจากพื้นที่และนำไปเผาทลาย แล้วไถตากดิน 2-3 ครั้ง เพื่อลดปัญหาเชื้อราในดิน ใส่ปูนขาวตามค่าวิเคราะห์ดิน ผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาสดกับปุ๋ยหมักในอัตราเชื้อต่อปุ๋ยหมักเท่ากับ 1:300 ใส่รองพื้นก่อนปลูก อัตรา 10 กิโลกรัม/ตารางเมตร แล้วทำการไถพรวนและปลูกหอมแดงระยะ 16x16 เซนติเมตร และฉีดพ่นสารคลุมวัชพืชก่อนงอก พร้อมคลุมฟางหลังปลูกด้วย
นอกจากนี้ เกษตรกรควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงโดยใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสด อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วันและพ่นด้วยสารโพรคลอราด 50% WP หรือสารแมนโคเซบ 80% WP โดยปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดต้นทุนค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ เกษตรกรควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงโดยใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสด อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วันและพ่นด้วยสารโพรคลอราด 50% WP หรือสารแมนโคเซบ 80% WP โดยปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดต้นทุนค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ค่อนข้างมาก
การเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ต้องเก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสม โดยหอมพันธุ์ควรเก็บเกี่ยวที่อายุ 45 วัน การเก็บควรตัดช่อดอกออกแล้วผึ่งให้แห้งก่อนนำไปคัดแยกและทำความสะอาดหัวพันธุ์ จากนั้นเก็บไว้ในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเทดี ผลผลิตเสียหายน้อย จะทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น หากเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ในระยะที่ไม่เหมาะสม จะทำให้หัวพันธุ์หอมแดงคุณภาพไม่ดี หรือหัวลีบฝ่อ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเก็บรักษาคุณภาพหอมแดงอย่างถูกวิธี และต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี การแขวนหอมแดงในโรงเก็บต้องไม่ชิดหรืออัดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราและเน่าเสียได้
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้ผลิตหอมแดงป้อนตลาดควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูก และใช้ปุ๋ยพืชสด เช่นปอเทือง เพื่อปรับปรุงบำรุงดินในช่วงเตรียมแปลงปลูก นอกจากนั้น ควรผลิตปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อไตรโคเดอร์มาสดใช้เอง จะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ อีกทั้งยังควรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเท่าที่จำเป็น และใช้อย่างถูกต้องและถูกวิธี จะลดค่าใช้จ่ายค่าสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชได้ ทำให้มีรายได้ที่มั่นคงและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
หากสนใจเกี่ยวกับแนวทางการลดต้นทุนการผลิตหอมแดง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2940-5484-5, 0-2579-0583 และ 0-2579-0508 หรือ ศูนย์วิจัยพืชสวนทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้ผลิตหอมแดงป้อนตลาดควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูก และใช้ปุ๋ยพืชสด เช่นปอเทือง เพื่อปรับปรุงบำรุงดินในช่วงเตรียมแปลงปลูก นอกจากนั้น ควรผลิตปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อไตรโคเดอร์มาสดใช้เอง จะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ อีกทั้งยังควรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเท่าที่จำเป็น และใช้อย่างถูกต้องและถูกวิธี จะลดค่าใช้จ่ายค่าสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชได้ ทำให้มีรายได้ที่มั่นคงและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
หากสนใจเกี่ยวกับแนวทางการลดต้นทุนการผลิตหอมแดง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2940-5484-5, 0-2579-0583 และ 0-2579-0508 หรือ ศูนย์วิจัยพืชสวนทั่วประเทศ