

"พริกไทย พืชสมุนไพรที่ทำให้มีกิน"
คุณภิรมย์ แก้ววิเชียร
ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันมาสนใจการทำการเกษตรกันมากขึ้น บ้างก็เลือกที่จะออกจากงานมาใช้ชีวิตอิสระปลูกพืชตามคนที่ประสบความสำเร็จอยู่ก่อนหน้า หรือเกาะกระแสตลาดพืชที่กำลังเป็นที่นิยม
แต่ยังมีพืชเกษตรชนิดหนึ่งที่น่าสนใจแต่คนทั่วไปกลับมองข้ามและไม่เคยรู้เลยว่าจริงๆแล้วมันซ่อนความมั่นคงถาวรให้กับเกษตรกรผู้ที่เลือกทำการเพาะปลูกมัน พืชชนิดที่ว่านี้ก็คือ..พริกไทย
ที่พริกไทยน่าสนใจเพราะในประเทศไทยนั้นมีการเพาะปลูกพริกไทยยังมีไม่มากนัก การเพาะปลูกส่วนใหญ่จะอยู่แค่ที่ภาคกลางเท่านั้น ในขณะที่ความต้องการของตลาดมีมาก จึงทำให้พริกไทยเป็นพืชเกษตรที่ราคาไม่เคยตกต่ำเลยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา(นี่แหละที่น่าสนใจจริงๆ) และหากจะพูดถึงแหล่งปลูกพริกไทยแหล่งใหญ่สุดของประเทศ คนในแวดวงพริกไทยก็คงจะต้องชี้นิ้วไปที่จังหวัดนี้..จังหวัดจันทบุรี
เรามีโอกาสได้พบกับคุณ ภิรมย์ แก้ววิเชียร เกษตรผู้เพาะปลูกพริกไทยทั้งสายพันธุ์ซีลอนและสายพันธุ์มาเลเซีย คุณภิรมย์ยังเป็นหมอดินอาสาที่ ต.วังโตนด อ.นายายอาย จ.จันทบุรี และยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาดินอีกด้วย
คุณภิรมย์เล่าว่า ก่อนที่แกจะหันมาทำพริกไทย แกเคยเป็นทหารและออกมาทำงานตามแบบฉบับคนทั่วไป จนกระทั่งคุณพ่อเสีย ก็เลยได้กลับมาอยู่บ้าน หลังแต่งงานก็ เริ่มมองหาพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น(ก่อนหน้านั้นพ่อกับแม่ปลูกทุเรียนกับเงาะสีทอง แต่รายได้ไม่สู้ดีนัก) ประจวบกับขณะนั้นก็มีพี่ที่นับถือกันอยู่ที่หน่วยงานพัฒนาที่ดิน คือ ผอ.ปรีชา โหนแหยม ซึ่งยังเป็นหัวหน้าหน่วยอยู่ ผอ.ปรีชาได้ชักชวนคุณภิรมย์เข้าไปเป็นหมอดิน คุณภิรมย์ก็รู้สึกถูกใจเพราะได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน ดินเป็นกรด ดินเปรี้ยวแก้ไขยังไง จากนั้นก็เริ่มเรียนเรียนเกี่ยวกับการเกษตรอย่างจริงจังจนจบ แล้วเข้ามาทำการเพาะปลูกพริกไทยอย่างเต็มตัว ลองผิดลองถูกอยู่เกือบ10ปี เพราะไม่เคยทำมาก่อ แต่ช่วงแรกของพริกไทยก็ยังรายได้ดีกว่าทุเรียนกับเงาะสีทองคนในครอบครัวทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ คุณภิรมรย์บอกว่าทุเรียนเมื่อประมานปี 42 ขายทั้งแปลงได้แค่ 7-8 หมื่นบาทเท่านั้น เลยใจตัดสินโค่นเงาะสีทองออกครึ่งไร่ เพื่อปลูกพริกไทยที่ใช้พื้นที่น้อยแต่คุ้มค่ากว่า ตอนแรกๆนั้นการดูแลก็ดูแค่ภาพรวมคิดเอาแต่ก็ยังไม่ตรงจุด ลองๆดู 200 หลัก ระยะเวลาจากปลูกอยู่ที่11-13เดือน ผลตอบแทนชุดแรกได้แสนกว่า ถึงแสนห้าภายในปีเดียว จึงมีการขยายเพิ่มอีก แต่การลงทุนปลูกพริกไทยก็ค่อนข้างเยอะอยู่พอตัวเช่นกัน
หลังจากไปเรียนมาแล้ว ก็ลองปรับเปลี่ยนวิธี ก็เริ่มจากปรับโครสร้างดิน โดยหน่วยงาน กรมพัฒนาที่ดินจะเก็บตัวอย่างดินเราไปวิเคราะห์ให้ฟรีทั้งหมดเลย แล้วมาปรับดินเรา โดยการเติมอินทรียวัตถุ โชคดีที่นี่มีธนาคารปุ๋ยอินทรีย์สาขา ต.วังโตนด โดยได้รับพระราชทานปุ๋ยอินทรีย์หมักสูตรพระราชทานของพระเทพ เอามาต่อยอดโดยใช้ปัจจัยการผลิตวัตถุดิบที่เข้มข้นจนได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
แม้การลงทุนปลูกพริกไทยจะดูสูงแต่ก็ยังคุ้ม คุณภิรมย์บอกว่าปัจจุบันการลงทุนปลูกพริกไทยต่อหลัก ต่อครั้ง ทั้งค่าเสา ค่ากิ่งพัน ค่าสปริงเกอร์และแสลน ก็อยู่ที่ประมาณ 480-500 บาทต่อหลัก ไร่นึง 400 หลักก็คูณเข้าไป ส่วนรายได้ค่าเฉลี่ยที่ปี3 ถ้าดูแลดีก็หลักละ700บาท เฉลี่ยกลางๆก็สามแสนบาทต่อไร่ต่อปี และยังจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ไปถึงปีที่10นี่จะเยอะมากจะสมบูรณ์สุดๆ พอเข้าปีที่15เริ่มจะลดลงเพราะอายุเยอะแล้ว แต่ก็นั่นล่ะครับกว่ามันจะโรยรามันก็ทำเงินให้เราคุ้มจนเกินคุ้มแล้ว
คุณภิรมย์เล่าอีกว่า ก่อนที่จะหันมาทำพริกไทย แกเคยเป็นทหารและออกมาทำงานตามแบบฉบับคนทั่วไป จนกระทั่งคุณพ่อเสีย ก็เลยได้กลับมาอยู่บ้าน หลังแต่งงานก็ เริ่มมองหาพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น(ก่อนหน้านั้นพ่อกับแม่ปลูกทุเรียนกับเงาะสีทอง แต่รายได้ไม่สู้ดีนัก) ประจวบกับขณะนั้นก็มีพี่ที่นับถือกันอยู่ที่หน่วยงานพัฒนาที่ดิน คือ ผอ.ปรีชา โหนแหยม ซึ่งยังเป็นหัวหน้าหน่วยอยู่ ผอ.ปรีชาได้ชักชวนคุณภิรมย์เข้าไปเป็นหมอดิน คุณภิรมย์ก็รู้สึกถูกใจเพราะได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน ดินเป็นกรด ดินเปรี้ยวแก้ไขยังไง จากนั้นก็เริ่มเรียนเรียนเกี่ยวกับการเกษตรอย่างจริงจังจนจบ แล้วเข้ามาทำการเพาะปลูกพริกไทยอย่างเต็มตัว ลองผิดลองถูกอยู่เกือบ10ปี เพราะไม่เคยทำมาก่อน แต่ช่วงแรกของพริกไทยก็ยังรายได้ดีกว่าทุเรียนกับเงาะสีทองคนในครอบครัวทำมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ คุณภิรมย์บอกว่าทุเรียนเมื่อประมานปี 42 ขายทั้งแปลงได้แค่ 7-8 หมื่นบาทเท่านั้น เลยใจตัดสินโค่นเงาะสีทองออกครึ่งไร่ เพื่อปลูกพริกไทยที่ใช้พื้นที่น้อยแต่คุ้มค่ากว่า ตอนแรกๆนั้นการดูแลก็ดูแค่ภาพรวมคิดเอาแต่ก็ยังไม่ตรงจุด ลองๆดู 200หลัก ระยะเวลาจากปลูกอยู่ที่11-13เดือน ผลตอบแทนชุดแรกได้แสนกว่า ถึงแสนห้าภายในปีเดียว จึงมีการขยายเพิ่มอีก แต่การลงทุนปลูกพริกไทยก็ค่อนข้างเยอะอยู่พอตัวเช่นกัน
“หลังจากที่ผมไปเรียนมาแล้ว ก็ลองปรับเปลี่ยนวิธี ก็เริ่มจากปรับโครสร้างดิน โดยหน่วยงาน กรมพัฒนาที่ดินจะเก็บตัวอย่างดินเราไปวิเคราะห์ให้ฟรีทั้งหมดเลย แล้วมาปรับดินเรา โดยการเติมอินทรียวัตถุ โชคดีที่นี่มีธนาคารปุ๋ยอินทรีย์สาขา ต.วังโตนด โดยได้รับพระราชทานปุ๋ยอินทรีย์หมักสูตรพระราชทานของพระเทพ ซึ่งเราเอามาต่อยอดโดยใช้ปัจจัยการผลิตวัตถุดิบที่เข้มข้นจนได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง”
ปัจจุบันพริกไทยของคุณภิรมย์ ที่เริ่มต้นจากเพียง 200 หลักตอนนี้มีเกือบๆ 5000 หลัก ในพื้นที่1 2 ไร่ พริกไทยที่ปลูกมี2สายพันธ์ คือพันธุ์มาเลเซียกับสายพันธ์ซีลอน โดยคุณภิรมย์ก็ได้ทำอย่างครบวงจร ทั้งขายยอดพันธ์ ขายพริกไทยสด ขายพริกไทยดำ ในขณะเดียวกันก็พยายามวิเคราะห์แล้วคิดว่าจะทำไงให้ได้รายได้สูงสุดต่อปีจากปัจจัยที่เรามีอยู่
ปัจจุบันพริกไทยของคุณภิรมย์ จาก 200 หลักตอนนี้มีเกือบๆ 5,000 หลัก ในพื้นที่1 2 ไร่ พริกไทยที่ปลูกมี2สายพันธ์ คือพันธุ์มาเลเซียกับสายพันธ์ซีลอน โดยคุณภิรมย์ก็ได้ทำอย่างครบวงจร ทั้งขายยอดพันธ์ ขายพริกไทยสด ขายพริกไทยดำ ในขณะเดียวกันก็พยายามวิเคราะห์แล้วคิดว่าจะทำไงให้ได้รายได้สูงสุดต่อปีจากปัจจัยที่เรามีอยู่
ตนกล้าพริกไทยพร้อมจำหน่าย
การเพาะปลูกพริกไทย :
การเตรียมดิน ต้องขุดตอเก็บรากไม้เศษหญ้าออกให้หมดก่อนขุดดินแล้วตากดินทิ้งไว้ 15 วันจึงไถพรวนแล้วปรับหน้าดิน ส่วนพื้นที่ที่ลาดชั้นเกิน 15 องศาต้องปรับพื้นที่เป็นแบบขั้นบันได ดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซ็นติเมตร ความเป็นกรดด่างอยู่ที่ 5.5 - 6.5
การเตรียมกิ่งพันธุ์ คือตัดจากค้างที่สมบูรณ์เหนือพื้นดิน50เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5 - 6 ข้อ ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9X14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะออกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง
เสาค้าง ใช้ค้างซีเมนต์ระยะห่าง 2X2 เมตร หากใช้ไม้ยืนต้นเป็นไม้ค้างควรใช้ระยะปลูก 2X3 เมตร หรือ 2.5X2.5 เมตร ในกรณีที่ใช้ค้างซีเมนต์ผู้ปลูกจำเป็นต้องใช้กระสอบป่านหุ้มค้างไว้เพื่อให้มีการเก็บความชื้นและเป็นที่ยึดเกาของรากพริกไทย ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ขนาด 4X4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่นหลังจากนั้นขุดหลุมขนาด 40X60 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคน 15 เซนติเมตร
การปลูก ควรปลูกช่วงฤดูฝน โดยจะใช้ต้นพันธุ์ 2 ต้นต่อหลุ่ม หรือค้างพันธุ์ซาราวัค(มาเลเซีย) ใช้ระยะปลูก 2X2 เมตร ส่วนพันธุ์ซีลอนใช้ระยะปลูก 2.5X2.5 เมตร ขุดหลุมขนาดกว้างxยาวxลึก 40x60x40 ซ.ม. ปากหลุมห่างจากโคนประมาณ 15 ซ.ม. ผสมดินที่ขุดขึ้นมาในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วนต่อ 2 ส่วนโกยดินกลบลงในหลุมประมาณครึ่งหลุม ต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง หันด้านที่มีรากหรือตีนตุ๊กแกออกนอกค้าง ฝังลงดินประมาณ 2 ข้อ อีกประมาณ 3 ข้ออยู่เหนือผิวดิน กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงที่ พริกไทยติดผลแล้วจะต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวัน ๆ ละครั้ง และควรคลุมโคนด้วยเศษหญ้าหรือฟางข้าว จะช่วยป้องกันการระเหยของน้ำได้ดี ทำร่มให้ต้นพริกไทย อาจใช้ทางมะพร้าวหรือใบปรงทะเลหรือวัสดุอื่นก็ได้ หลังปลูกประมาณ 1 เดือนถอนที่บังร่มออกครั้งละเล็กละน้อย เพื่อให้ต้นพริกไทยค่อย ๆ ชินกับแสงแดด เมื่อพริกไทยสามารถทนต่อแสงแดดปกติ จึงเอาวัสดุบังร่มออกให้หมด การให้น้ำควรใช้ แบบ mini sprinkler การให้น้ำช่วงแรก ของการปลูกต้องให้น้ำทุกวัน หรือวันเว้นวันจนกระทั่งต้นตั้งตัวได้ดี แล้วลดการให้น้ำเหลือ 2-3 วันต่อครั้ง ต้นพริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้น้ำ 3-5 วันต่อครั้ง ขึ้นกับความเหมาะสม
แมลงศัตรูพืช :
มวนแก้ว มักจะวางไข่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง
เพลี้ยอ่อน ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ใบและยอดแคระแกรน บิดงอ ไม่ติดเมล็ด
เพลี้ยแป้ง ตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ใบ และเถาพริกไทย เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลเป็นน้ำหวาน ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยมาลาไธออน หรือเด็ดกิ่งและเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย
มดและด้วงงวงเจาะเถาพริกไทย ซึ่งจะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ถ้าระบาดรุนแรงก็ฉีดพ่นด้วย คาร์บาริลหรือเผาทำลาย เถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวง ระบาด
โรคพืชที่ควรระวัง :
โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา อาการระยะแรกเถาจะเหี่ยวในเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ต่อมาปราง (กิ่งแขนง) เริ่มหลุดเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่โคนต้นถึงยอดขั้วกิ่งเป็นสีเหลืองและดำ ส่วนรากเน่าดำและมีกลิ่นเหม็น ป้องกันโดยอย่ำให้น้ำขังในฤดูฝน เผาทำลายต้นที่เป็นโรค และฉีดพ่นด้วยฟอสอีทิลอลูมิเนียม และฟอสฟอริค แอซิด
โรครากขาว เกิดจำกเชื้อรา ใบเหลืองและร่วง พบเส้นใยสีขาวปกคลุมที่รากบางส่วนป้องกันโดยเผาทำลายส่วนที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ถ้าระบาดรุนแรงใช้ควินโตซีน ผสมน้ำราดหรือฉีดพ่น
โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม เข้าทำลายที่รากฝอย เกิดเป็นปมเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ทำให้ผนังเซลล์เป็นแผล เป็นสำเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าร่วมทำลำยได้ง่าย ป้องกันโดยคลุมดินก้นหลุมก่อนปลูกด้วยคาร์โบพูราน หรือพีนามีฟอส และโรยรอบทรงพุ่มในช่วงฤดูฝน
โรคแอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อรา ทำลำยส่วนใบของพริกไทย เกิดเป็ดจุดวงกลมสีน้ำตาลดำหรือสีดำ ผิวเป็นเงามัน รอบจุดเป็นสีเหลือง ตรงกลางแผลมีลักษณะเป็นวงสีน้ำตาลดำเรียงซ้อนกันเหมือนวงปีของเนื้อไม้ ถ้ำเป็นรุนแรงอาจทำให้ตายได้ ป้องกันโดยตัดแต่งกิ่งและเก็บไปเผาทำลาย พ่นด้วยเบนโนมิล หรือแมนโคเซบ หรือคำร์เบนดำซิม
โรคราเห็ดพริกไทย เกิดจำกเชื้อราเป็นเส้นใยสีขาวเจริญบนผิวเปลือกของลำต้น กิ่ง และใต้ใบ ทำให้ลำต้น กิ่งใบ แห้ง และตายได้ ป้องกันโดยอย่ำให้น้ำท่วมขัง ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และพ่นด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์
ทั้งหมดนั่นก็คือวิธีการขั้นตอนการปลูกและดูแลพริกไทยสำหรับท่านที่สนใจ คุณภิรมย์ยังบอกกับเราอีกว่าถ้าจะทำพริกไทยต้องรู้ดินของตัวเองซะก่อน พื้นที่เรามีน้ำมั้ย ดินเราเป็นยังไง (ให้ศึกษาจากกรมพัฒนาที่ดิน) และเมื่อรู้แล้วทำแล้วก็ลองหันกลับมาทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้และคุณค่าให้กับที่ดินของเราด้วย
ส่วนการลดต้นทุนการผลิต คุณภิรมย์แนะนำว่าแต่ละจังหวัดมีสถานีพัฒนาที่ดินของจังหวัดนั้นๆอยู่แล้ว ให้ไปขอรับปัจจัยการผลิตได้เลย อย่างเรื่องขุดสระ 1 ลูกใช้ต้นทุนเพียง 2,500 บาท ด้านความรู้เรื่องการปรับปรุงดินเอาดินไปตรวจไม่เสียตัง แล้วเขาจะให้ปูนมาปรับดินเรา เรื่องโรคพืชก็ไปขอรับความรู้ได้เลย จะช่วยลดทุนการผลิตได้เยอะ
คุณภิรมย์ยังบอกอีกว่าหากเลือกที่จะปลูกพริกไทยแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ได้ เพราะจะมีลูกค้าเข้ามารับซื้อถึงสวนกันเลยทีเดียว สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นก็มาพูดคุยปรึกษากับผมได้เลย หรือไม่ก็ไปที่กรมพัฒนาที่ดินจังหวัด ที่นั่นเขามีคำปรึกษาที่ดีให้กับเกษตรกรเสมอ
ด้านเส้นทางการตลาดพบว่าการซื้อขายพริกไทยในประเทศ มี 3 ลักษณะ ดังนี้
1. พริกไทยเมล็ดใหญ่ มีตลาดซื้อขายหลักอยู่ 14 จังหวัดภาคใต้ มีขนาดเมล็ดใหญ่ เนื้อในกลวง รสเผ็ดแต่กลิ่นไม่หอม บางส่วนมาจากแหล่งผลิตอื่นที่ไม่ใช่จันทบุรี และบางส่วนนำเข้าจากประเทศเวียดนาม
2. พริกไทยจันทบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงด้านรสชาติและกลิ่น มีการซื้อขายในจันทบุรี โดยมีบริษัทใหญ่อย่างน้อย 3 รายที่รับซื้อ และไม่มีการนำไปผสมกับวัตถุดิบอื่น ( เช่นปลายข้าว และลูกเดือย)
3. พริกไทยผสม ผู้ประกอบการจะนำพริกไทยเมล็ดใหญ่และเล็กมาผสมกัน รวมทั้งยังนำเข้าจากเวียดนามเพื่อนำมาผสมกับพริกไทยจันทบุรี แล้วจำหน่ายเป็นพริกไทยคละ โดยมีแหล่งรับซื้ออยู่ที่ตลาดทรงวาด, ตลาดสี่มุมเมือง และยี่ปั๊วในจ.จันทบุรี
ปัจจุบันราคาพริกไทยที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีก เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้เพื่อรอราคา ทำให้สถานการณ์ราคาในขณะนี้ถูกกำหนดโดยผู้ขาย ส่วนแนวโน้มการบริโภคพริกไทย ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยและโภชนาการมากขึ้น รวมถึงปัญหาด้านการปลอมปนที่นำปลายข้าวหรือลูกเดือยมาผสม หรือการฟอกพริกไทยขาวด้วยคลอลีนในปริมาณที่สูงเกินกำหนด ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไปบริโภคพริกไทยดำเพิ่มขึ้น
สุดท้ายนี้คุณภิรมย์ฝากข้อคิดในการทำเกษตรไว้ได้อย่างน่าสนใจ คือ “ทำการเกษตรนั้นต้องมองพืชให้ออก วิเคราะห์ให้เป็นแล้วทำด้วยใจ จะทำแล้วรวย มีเงินก็ มีความสุข ความสุขในการทำเกษตรคือ อาชีพเกษตรเป็นอาชีพอิสระ ขยันมากได้มาก ขยันน้อยได้น้อย เอาใจใส่กับมัน ลำบากวันนี้สบายในวันหน้าชัวร์ แล้วชีวิตจะดีขึ้น ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านที่ผมยึดปฏิบัติตลอด”
และนั่นก็เป็นเรื่องราวของ คุณภิรมย์ แก้ววิเชียร เกษตรกรผู้ทำการเกษตรด้วยใจรักในอาชีพที่ทำที่เป็นอยู่ การทำเกษตรแม้ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากที่จะประสบความสำเร็จ เพียงแค่มีความมุ่งมั่น ขยัน เอาใจใส่ ไม่ว่าจะการเกษตรชนิดไหนก็ประสบความสำเร็จอย่างมีความสุขแน่นอน..
ช่องทางการติดต่อ :
ภิรมย์ แก้ววิเชียร โทร. 08-5278-8035
35 ม.4 ต.วังโตนด อ.นายายอาม จ.จันทบุรี

