เกษตรกรต้นแบบ

"สละอินโด พืชเศรษฐกิจ พารวย แบบพอเพียง"


คุณร้อยตรีสิทธิพงษ์ วงศ์ศิริ
 17 พฤษภาคม 2559 7,426
จ.อุบลราชธานี
ความสำเร็จพอดู ความรู้พอตัว ความชั่วพอที ความดีพอควร และ กินพอประมาณ ทำงานพอเพียง มีเสบียงพอใช้ แต่งกายพองาม

ร้อยตรีสิทธิพงษ์ วงษ์ศิริ เจ้าของสวนสละอุบลสละอินโด ปัจจุบันอายุ 56 ปี เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานีโดยกำเนิด เรียนจบชั้นมัธยมปีที่3โรงเรียนสันทมาตย์อำเภอเมือง ในปีพ.ศ.2523และเรียนจบโรงเรียนนักเรียนนายสิบรุ่น13/23 ในปีพ.ศ.2525เข้ารับราชการทหารที่กองพันทหารราบที่6(ค่ายร.6พัน3)ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อปีพ.ศ.2549ได้ไปปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดชายแดนใต้ที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ได้มีโอกาสรับประทานผลสดของสละอินโด ทำให้เกิดความชื่นชอบรสชาติที่หวาน กรอบอร่อยจึงทดลองเพาะกล้าปลูกที่ฐานปฏิบัติการ ปรากฏว่าเจริญเติบโตและได้ผลผลิต ต่อมาเมื่อเสร็จภารกิจที่จังหวัดนราธิวาสได้กลับมาที่จังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2555 ได้ไปปฏิบัติภารกิจที่3จังหวัดชายแดนใต้อีกครั้งที่ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ มีแนวคิดที่อยากจะนำมาทดลองปลูกในพื้นที่ภาคอีสานว่าจะสามารถปลูกได้ไหม และได้ลาออกจากราชการมาทำอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.2556 โดยการนำความรู้ประสบการณ์ต่างๆแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ จนสามารถปลูกให้เจริญเติบโตติดดอกออกผลได้สำเร็จเป็นเจ้าแรกในจังหวัดอุบลราชธานี

ร้อยตรีสิทธิพงษ์ ตรวจดูผลสดสละอินโดว่าสุกพร้อมรับประทานหรือยัง

เมื่อปี พ.ศ.2523 เรียนจบโรงเรียนนักเรียนนายสิบ รุ่น 13/23 เมื่อปี พ.ศ.2525 และเข้ารับราชการทหารที่ค่ายกองพันทหารราบที่ 6(ค่ายร.6 พัน 3) ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ เป็นทหารนักพัฒนาและสัมพันธ์มวลชน เมื่อปี พ.ศ.2549 ได้ไปปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดชายแดนใต้ที่อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ได้มีโอกาสรับประทานผลสดของสละอินโดที่ภาคใต้ ทำให้เกิดความชื่นชอบรสชาติที่หวาน เนื้อกรอบ อร่อย จึงทดลองเพาะกล้าปลูกที่ฐานปฏิบัติการ ปรากฏว่าเจริญเติบโตและได้ผลผลิตในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้ปลูกอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพียงต้องการทดลองปลูกเท่านั้น ต่อมาเมื่อเสร็จภารกิจที่จังหวัดนราธิวาสได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดอุบลราชธานีเช่นเดิม จนกระทั้งเมื่อปี พ.ศ.2555 ได้ไปปฏิบัติภารกิจที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้อีกครั้ง ที่ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จากความชื่นชอบส่วนตัวในรสชาติ ความอร่อย ทำให้มีแนวความคิดที่อยากจะนำมาทดลองปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน ว่าจะสามารถปลูกในดินร่วนปนทรายให้เจริญเติบโตได้หรือไม่ เมื่อเสร็จภารกิจที่จังหวัดปัตตานี และกลับมาที่จังหวัดอุบลราชธานี จึงทดลองปลูกที่บ้านพักในค่ายทหาร โดยได้ทดลองทั้งเทคนิด วิธี

เมื่อปี พ.ศ.2556 ปลูกสละอินโด อยู่ประมาณ 200 ต้น ได้ต้นพันธุ์และเมล็ดมาจากตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยปลูกต้นพันธุ์สละอินโดแซมกับไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ เนื่องจากสละอินโด ไม่ชอบแสงแดดจัด ต่อมาได้เพาะเมล็ดเพิ่มเติมและขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น โดยนำต้นพันธุ์ที่เพาะไว้เองมาปลูก จากเดิม 200 ต้น ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน จากการเพาะต้นกล้าเองด้วย ปัจจุบันมีกว่า 3,000 ต้น สละอินโดจะมีช่วงติดผลดกตามธรรมชาติในช่วงฤดูฝนและผลจะสุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี

สละอินโดทีปลูกไว้ในสวนพื้นที่กว่า 10 ไร่

ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ต้นสละอินโดเริ่มติดดอกให้เห็นจำนวนหลายต้น บางต้นเริ่มเป็นผลสละขนาดเล็กที่กำลังจะเจริญเติบโตเป็นผลสุก นอกจากนี้ได้นำต้นกล้าสละอินโดที่เพาะพันธุ์ไว้มาขายให้กับลูกค้าและผู้ที่สนใจ ซึ่งจะมีทั้งต้นพันธุ์ตัวเมียและต้นพันธุ์ตัวผู้ โดยขายตามอายุและขนาดของต้น ซึ่งสร้างรายได้เป็นอย่างดี และรอสละผลสดที่จะสุกเต็มที่พร้อมขายในช่วงเดือนมิถุนายนซึ่งนอกจากจะทานผลสดแล้วยังนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้หลายชนิดเช่น แช่แข็ง แช่อิ่ม อบแห้ง ดองฯลฯ รวมทั้งยังให้ความรู้กับผู้ที่สนใจที่แวะมาเยี่ยมเยือนถึงสวนสละอินโด ที่อยากจะนำไปปลูก

อีกวิธีหนึ่งคือการขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อซึ่งจะเป็นวิธีการที่ได้พันธุ์และเพศตามที่ต้องการ โดยเลือกต้นเพศที่ต้องการ และตัดลำต้นออก โดยตัดตรงโค่นต้นห่างจากดินประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นขุดขึ้นมาทั้งรากและนำน้ำมาฉีดล้างดินออกให้หมด เสร็จแล้วนำมาแยกแต่ละต้นออกใส่ถุงปลูกหรือกระถ่างปลูก แล้วนำมาปลูกดูแลใหม่ให้เจริญเติบโต จะได้ต้นเพศที่เราต้องการ 100%

การขยายพันธุ์สละอินโด โดยการแยกหน่อ

ต้นทุนการผลิต

ต้นทุนในการผลิตผลสดสละอินโด ทางสวนสละอุบล สละอินโด จะเพาะกล้าต้นพันธุ์ไว้เอง ทำให้ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเรื่องค่าต้นพันธุ์ในการเพาะปลูกไปได้มาก โดยต้นพันธุ์ในการปลูกเพื่อเก็บผลสดขาย ขนาดต้น 40-60 เซนติเมตร อายุ 6-8 เดือน จะอยู่ที่ต้นละ 80 บาท หากใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 200-300 ต้นต่อไร่ ต้นทุนเฉพาะค่าต้นพันธุ์สละอินโด จะอยู่ที่ไร่ละ 16,000-24,000 บาท เมื่อรวมค่าปุ๋ย ค่าน้ำ ค่าวัสดุอื่นๆ และค่าแรงงาน ที่ต้องใช้ในการจัดการดูแล รวมต้นทุนทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 32,000 บาท ต่อไร่ ภายในระยะเวลา 3 ปี ก็สามารถเก็บผลผลิตผลสดขายได้ กิโลกรัมละ 80-100 บาท นอกจากนี้ยังเพาะต้นกล้าไว้ขายเองมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ซึ่งเพาะขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและด้วยการเพาะเมล็ด สามารถขายต้นกล้าได้ตลอดปี โดยต้นเล็กอายุ 6-8 เดือน สูง 30-50 เซนติเมตร ขายราคาต้นละ80บาท ต้นสละอายุ 9-12 เดือน สูง 60-80 เซนติเมตร ขายต้นละ 150 บาท ส่วนต้นใหญ่อายุ 2 ปี ขายต้นละ 2,000-3,000 บาท (ซึ่งอีกเพียง 1 ปี ก็ให้ผลผลิตได้)และขายเมล็ดพันธุ์ที่งอกแล้ว เมล็ดละ 10 บาท (ไม่รวมค่าขนส่ง) ขายให้กับลูกค้าที่สั่งจองล่วงหน้าและเกษตรกรผู้ที่สนใจ

แผนการตลาด

ด้านการตลาด ทางสวนสละอุบลสละอินโดจะออกไปแนะนำตามงานแสดงสินค้าหรืองานเกษตรแฟร์ที่จัดขึ้น โดยแนะนำให้คนที่ไม่เคยชิม ทดลองชิมก่อนตัดสินใจซื้อหรือนำไปเป็นของฝากและจะทำการตลาดเอง จากการโปรโมทแนะนำ ทางโซเซียลมีเดีย ผ่านเฟสบุ๊คและทางไลน์กับคนรู้จักก่อน จนเกิดการพูดถึงปากต่อปากขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเชิญชวนผู้ที่สนใจ อยากจะได้ผลผลิตให้โทรติดต่อได้โดยตรงผ่านโทรศัพท์ หากมีผลผลิตพร้อมก็จะจัดส่งให้ทันที ในช่วงที่มีผลผลิตจะมีการคัดเกรด ขนาดและน้ำหนัก นำมาแพ็คบรรจุถุงและใส่กล่องเอง พร้อมส่งตลาดรวมทั้งร้านค้าที่โทรมาสั่งจองล่วงหน้าในเขตอำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ และต่างจังหวัด ในราคากิโลกรัมละ 80-120 บาท ลูกค้าบางรายเดินทางมารับสินค้าเองถึงที่สวน บางรายสั่งจองล่วงหน้ากันเป็นเดือน ซึ่งอาศัยความคุ้นเคยในการสั่งสินค้าเพื่อต่อยอดตลาด หากสั่งจำนวนมากก็จะมีการแถมหรือลดราคาให้ ซึ่งผลผลิตจะดกช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฏาคม หากรวมผลผลิตในการปลูกสละอินโดต่อฤดูกาลที่ให้ผลผลิต จะได้ประมาณ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ ขายกิโลกรัมละ 100 บาท จะมีรายได้ประมาณไร่ละ 150,000 บาท จากการลงทุนไร่ละ 32,000 บาท และสามารถเก็บผลผลิตช่วงที่ออกผลในแต่ละปีได้ตลอด จนกว่าต้นจะไม่ให้ผลผลิต

ต้นกล้าสละอินโด พร้อมจำหน่าย และผลผลิตที่ได้จากการใส่ใจ ดูแล สละอินโด

บทสรุป/ข้อเสนอแนะ

สละอินโดเป็นพืชที่ปลูกได้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายเช่นกัน หลายคนคิดว่าเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทางภาคใต้ คงจะนำมาปลูกในภาคอีสานไม่ได้ แต่เกษตรกรท่านนี้ได้ทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสามารถปลูกให้เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ หากแต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในวิธีการปลูก การดูแลรักษา รวมถึงลักษณะความต้องการพื้นฐานของสละอินโดที่ไม่ชอบแสงแดดจัด สามารถปลูกในดินร่วนปนทรายได้ ชอบความชื้นเล็กน้อย จะมีช่วงติดผลดกตามธรรมชาติในปลายฤดูฝนและผลจะสุกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมของทุกปีและพักต้นในเดือนพฤศจิกายน สำหรับดอกของสละอินโดจะมีต้นตัวผู้และต้นตัวเมียอยู่คนละต้น ต้องอาศัยการผสมเกสรเพื่อให้ติดผล มีเคล็ดลับในการเก็บรักษาเกสรสละอินโดระหว่างรอผสมพันธุ์ โดยให้ตัดก้านเกสรตัวผู้ แล้วเคาะละอองเกสรสีเหลืองออกมา ผสมคลุกเคล้ากับแป้งมันเล็กน้อย นำไปใส่ไว้ในขวดโหล แล้วปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในตู้เย็นจะสามารถเก็บเกสรได้นาน 3-6 เดือน สำหรับเคล็ดลับการขยายพันธุ์จะทำโดยการแยกหน่อซึ่งจะเป็นวิธีการได้พันธุ์และเพศตามที่ต้องการ ไม่ต้องรอลุ้นเหมือนการเพาะเมล็ดและวิธีแยกหน่อต้นสละจะรอดตายค่อนข้างมาก สำหรับโรคและแมลงนั้นจะมีพวกด้วงแรค ด้วงงวง โรคผลและทลายเน่า หากต้นไหนเป็นโรค ให้ตัด หรือขุดต้นนั้นทิ้งไปแล้วปลูกต้นใหม่แทน เพื่อป้องกันการลุกลาม ไปยังต้นอื่น สำหรับสละอินโดนั้น ทุกวันนี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่ในการปลูกให้ได้ผลผลิตดีนั้น อาศัยเพียงความรู้หรือช่วงเวลาอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความเข้าใจถึงความต้องการของพืชที่ปลูก รวมถึงมีการเอาใจใส่ที่ดีและรู้ถึงทิศทางในอนาคตว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร หากจะทำให้ประสบผลสำเร็จแบบยั่งยืนต้องนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้ หากเรามีมากก็แบ่งปันให้ผู้มีน้อยไม่ว่าจะเป็นความรู้หรือสิ่งของ โดยใช้สูตรสำเร็จสำหรับคำว่าพอเพียงคือ ทำความสำเร็จให้พอดู มีความรู้พอตัว ความชั่วพอที ความดีพอควรและที่สำคัญ กินพอประมาณ ทำงานแบบพอเพียง มีเสบียงพอใช้ แต่งกายพองาม ร้อยตรีสิทธิพงษ์กล่าวทิ้งท้ายไว้ให้เป็นแนวคิด

เพาะพันธุ์สละขายง่ายๆ ด้วยเมล็ด
เรื่อง/ภาพโดย: ภูวไนย ใจหาญ จนท.ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.อุบลราชธานี