ข้าว
(2,020 เรื่อง)
การปรับปรุงความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว ความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว เมื่อเทียบกับธัญพืชอื่นๆ ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ถ้าการบริโภคข้าวเฉลี่ยของคนไทยอยู่ระหว่าง 200-250 กรัมต่อวัน และความต้องการธาตุเหล็กของร่างกายเฉลี่ยเท่ากับ 15 มก.ต่อวัน (RDA) ดังนั้นถ้าต้องการให้ข้าวสามารถให้ธาตุเหล็กระดับ 1 ใน 3 ของ RDA เมล็ดข้าวจะต้องมีความหนาแน่นของธาตุเหล็กถึง 5 มก.ต่อ 100 กรัม พันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปมีธาตุเหล็กต่ำกว่า 1.3-1.5 มก./100 ก. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้ดำเนินการค้นหาข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงจากข้าวพื้นเมือง เพื่อใช้เป็นพันธุ์สำหรับให้ลักษณะธาตุเหล็กสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักพบในข้าวที่มีเมล็ดสีดำ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ข้าวจากฐานพันธุกรรมธรรมชาติยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณสารยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กพวก polyphenol และ phytic acid ซึ่งมีอยู่มากในส่วนของรำ ในขณะที่ข้าวสีขาวมีสารยับยั้งการดูดซึมในปริมาณที่ต่ำกว่า จึงได้มีความพยายามที่จะผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวสีขาวกับข้าวสีม่วง-ดำ เพื่อถ่ายทอดลักษณะธาตุเหล็กสูงให้กับข้าวสีขาว
18 เมษายน 2554
5,573
การพัฒนาเรื่องพันธุ์ข้าวต้องใช้เวลา จากประสบการณ์ท่มูลนิธิข้าวขวัญทำเรื่องนาข้าวมา เรื่องดินจะมีการพฒนาได้เร็วกว่าเรื่องพันธุ์ข้าว ในการพัฒนาดินก็จะใช้เทคนิคเรื่องจุลินทรีย์เช่นเดียวกับที่อื่นๆ แต่บางครั้งที่ทำกันอยู่จะเห็นว่าเรื่องสูตรปุ๋ย สูตรน้ำหมักต่างๆ มีความซับซ้อน ซึ่งคุณเดชาบอกว่าตรงนั้นไม่มีความจำเป็น ทางมูลนิธิข้าวขวัญจะพัฒนาผ่านตรงจุดนั้นมาแล้ว คุณเดชาเล่าว่า ตามหลักแล้วดินดีคือดินที่มีชีวิต ดินมีชีวิตก็คือดินที่มีจุลินทรีย์ ตามหลักแล้วดินดีต้องมีจุลินทรีย์ 6,000 ล้านตัวต่อ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม ซึ่งดินเหล่านี้ต้องไปในพื้นที่ที่มีจุลินทรีย์หลากหลาย มีประสิทธิภาพ และก็อยู่ในท้องถิ่น มูลนิธิข้าวขวัญจึงมองไปที่ป่า ป่าที่อุดมสมบูรณ์ คุณเดชากล่าวถึงจุดค้นพบว่า “
17 มีนาคม 2554
10,135
ข้าวลูกผสม (Hybrid rice)หมายถึง ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่เป็นลูกผสมชั่วอายุที่ 1 (F1 seed) ที่ได้จากการข้าวพันธุ์ (cross pollination)ระหว่างข้าวสายพันธุ์แท้ (inbred) 2 สายพันธุ์ ซึ่งต้นข้าวลูกผสมนี้เมื่อออกดอกและผสมตัวเอง แล้วจะได้เมล็ดข้าวเปลือกเป็นลูกชั่วที่ 2 และเมล็ดลูกชั่วที่ 2 นี้เองที่เกษตรกรจะนำไปบริโภค หรือจำหน่ายเป็นการค้า เมล็ดลูกชั่วที่ 2 นี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในครั้งต่อไปได้ เพราะจะให้ต้นข้าวในรุ่นลูกที่กระจายตัวทางพันธุกรรม และไม่สม่ำเสมอในทางการเกษตร ดังนั้น เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม จึงใช้ได้เพียงฤดูเดียวและจะต้องเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกฤดู การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม จึงต้องการความรู้ และความชำนาญสูง
10 มีนาคม 2554
9,383
9 มีนาคม 2554
12,149
ภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากจะมีคนไทยล้านนาอาศัยดำรงชีพอยู่ในเขตพื้นที่ราบและเชิงเขาแล้ว ยังมีกลุมชนที่เรียกว่า “ชาวเขา” ตั้งชุมชนอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาบนพื้นที่สูง ซึ่งครอบคลุ่มอาณาบริเวณพื้นที่สูงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มีหลายเผ่าพันธุ์มีสภาพความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมแตกต่างไปจากคนไทยส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นราบ ชาวเขาเหล่านี้ได้แก่ กะเหลี่ยง ลัวะ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ ขมุ และถิ่น (เป็นชาวเขาที่มีคนกระจายตัว โดยเฉพาะในจังหวัดน่าน)
3 มีนาคม 2554
7,917
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รายงานว่า จากสภาวะโลกร้อนที่มาเยือนพื้นที่แถบอีสาน ทำให้ทุ่งกุลาร้องให้ ที่มีบริเวณ 2.1 ล้านไร่ กินพื้นที่ 5 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิอย่างชัดเจน ทำให้ผลผลิตของข้าวหอมไทยลดลงถึง 45% จากภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ความแห้งแล้งสลับกับภัยน้ำท่วม และความร้อนระอุนี้ ส่งผลให้เกสรของข้าวไม่สามารถผสมพันธุ์ได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของปัญหาเกิดขึ้นกับนาน้ำฝน ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่พม่าจรดเวียดนาม เป็นผืนนาที่กว้างใหญ่ของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ผืนนาแห่งนี้ต้องรอน้ำฝนเพื่อการเพาะปลูกเท่านั้น และหากต้องการให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองนี้สามารถเพาะปลูกและเจริญเติบโตต่อไปได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ติดตามวิธีการแก้ปัญหาได้ในบทความนี้
2 มีนาคม 2554
7,740
เทคนิคการใช้ กย 15 ป้องกันเพลี้ย กย.15 นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันยุงได้เป็นอย่างดีแล้วนั้น กย.15 ยังเป็นผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเพลี้ยได้อีกด้วย ซึ่งจากการลงพื้นที่เข้าร่วมพูดคุยกับคุณลุงไสว ศรียา เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2551 ของจังหวัดนครนายก นั้น คุณลุงไสวได้แนะวิธีการในการป้องกันเพลี้ยที่นำ กย.15 แบบชนิดน้ำมาใช้ในการกำจัดเพลี้ยที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรในนาข้าว แบบง่ายๆ และได้ผลดี ที่สำคัญคุณลุงไสวบอกว่า ยังช่วยในการประหยัดต้นทุน และไม่เป็นอันตรายกับกับเกษตรกรและผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งมีวิธีการรายละเอียดดังนี้
27 กุมภาพันธ์ 2554
10,490
ราคาน้ำมัน
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2566
น้ำมัน
ราคา
แก๊สโซฮอล์ 91
36.08 บาท
แก๊สโซฮอล์ 95
36.35 บาท
แก๊สโซฮอล์ E20
34.04 บาท
แก๊สโซฮอล์ E85
34.49 บาท
ดีเซล
33.44 บาท
ดีเซล พรีเมี่ยม
42.66 บาท