สัตว์ปีก
(372 เรื่อง)
25 กรกฎาคม 2551
10,776
ในปัจจุบันมีหลายบริษัที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอหาาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavus สร้างสารพิษชื่อ alfatoxin ซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด 1. อาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตามรางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย 2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุสังเคราะห์ทางเคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิยมใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก. สูตรอาหารเป็ดพันธุ์ไข่ระยะต่างๆ
25 กรกฎาคม 2551
24,599
การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-14 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อ พื้นที่ 1.2 ตารางฟุต หรือไก่ 9 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย สามารถเลี้ยงปนได้ เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง โดยจะต้องเลี้ยงแบบให้อาหารกินเต็มที่ มีอาหารในถังหรือรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ แต่การเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์ เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องเลี้ยงแบบจำกัดอาหารให้ไก่กินโดยจะปรับจำนวนอาหารที่ให้ทุกๆ สัปดาห์ ตามตารางที่ 3 และจะต้องปรับเพิ่มหรือลด โดยดูจากน้ำหนักของไก่โดยเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้แนะให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถังที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต และน้ำ 24-32 ลิตรต่อไก่ 100 ตัว
24 กรกฎาคม 2551
14,707
เลี้ยงในคอกบนพื้นดินเลี้ยงปล่อยเป็นฝูงๆ ละ 100-150 ตัว พื้นที่ 1 ตารางเมตรเลี้ยงไก่สาวได้ 5-6 ตัว พอไก่สาวเริ่มเข้าอายุ 15 สัปดาห์ ให้ตัดปากไก่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตัดปากบนให้สั้นกว่าปากล่าง 1 ใน 3 ด้วยเครื่องตัดปากไก่ และจี้แฟลด้วยความร้อน เพื่อป้องกันเลือดออกมาก เสร็จแล้วให้ทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ขั้นตอนต่อไปนี้ให้ถ่ายพยาธิภายในด้วยยาประเภท Peperazine ชนิดเม็ดทุกๆ ตัวๆ ละ 1 เม็ด สุดท้าย คือ อาบน้ำยาฆ่าเหา ไรไก่ โดยใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผง ชือ เซฟวิน 85 ตวงยา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไก่ลงจุ่มน้ำใช้มือถูให้ขนเปียกจนทั่วลำตัว และก่อนนำไก่ขึ้นจากน้ำยา ก็ให้จับหัวไก่มุดลงในน้ำก่อนอีกครั้งหนึ่ง เป็นเสร็จวิธีการฆ่าเหาในไก่
24 กรกฎาคม 2551
17,667
กรมปศุสัตว์มีนโยบายด้านการวิจัย และพัฒนาพันธุ์สัตว์ปีกและเทคโนโลยีการจัดการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และการเลี้ยงดูของเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในปัจจุบันความนิยมของผู้บริโภคเน้นไปที่ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ เพราะรสชาติดีเนื้อแน่น ไขมันต่ำและเนื้อมีกลิ่นหอม ซึ่งตรงกันข้ามกับไก่เนื้อโตเร็วที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในตลาด ดั้งนั้น กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ จึงได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์ไก่สามสายพันธุ์ขึ้นมา เพื่อทำเป็นสายแม่พันธุ์ ที่มีคุณสมบัติให้ลูกดก เจริญเติบโตเร็ว เนื้อหน้าอกเต็ม และเมื่อนำไปผสมกับพันธุ์พื้นเมืองแล้วจะให้ลูกผสมสี่สายพันธุ์ ที่มีลักษณะไม่แตกต่างกับไก่พื้นเมือง คุณภาพเนื้อทัดเทียม หรือดีกว่าไก่พื้นเมือง การวิจัยพันธุ์ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2537ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และวิจัยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี การวิจัยพันธุ์มีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง คือ ให้เกษตรกรขยายพันธุ์เองได้ ไม่กลายพันธุ์ และไก่สามสายพันธุ์ยังเป็นแม่พันธุ์พื้นฐานสำหรับผสมเป็นไก่เนื้อพื้นเมืองเติบโตเร็ว ห้าสายพันธุ์ได้อีกด้วย คือ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนสลับพ่อพันธุ์ให้ได้ลูกโตช้าโตเร็วได้ตามความต้องการ แม้แต่ไก่พันธุ์เนื้อโตเร็วก็ใช้แม่พื้นฐานสามสายพันธุ์หรือจะใช้พันธุ์สามสาย ผลิตเป็นไก่พื้นเมืองโดยตรงก็ได้ คุณภาพเนื้อแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เจริญเติบโตเร็วกว่านำไปผสมกับไก่พื้นเมือง ซึ่งแผนการผสมพันธุ์ดังนี้
24 กรกฎาคม 2551
21,582
การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-16 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อพื้นที่ 1.4 ตารางฟุต หรือไก่ 8 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย เลี้ยงปนกัน การเลี้ยงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง จะต้องเลี้ยงแบบให้กินอาหารเต็มที่ มีอาหารในถังและรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้ได้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ ให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำ วันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถึงที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต หรือน้ำ 24-32 ลิตร ต่อไก่ 100 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ฉีดเมื่อลูกไก่อายุครบ 8 สัปดาห์ แต่สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่กว้าง เช่น ในไร่นา หรือที่สวนปลูกไม้ผลหรือมีแปลงหญ้า ก็สามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติแล้วเสริมอาหารผสมในเวลาเย็นใกล้ค่ำ และงดให้อาหารเช้าเพื่อบังคับให้ไก่ไปหากินเอง ถ้าเราให้อาหารเช้าไก่จะไม่ออกหากิน ดังนั้นจึงเปลี่ยนให้อาหารเวลาเย็นเวลาเดียวให้กินจนอิ่มเต็มกระเพาะ ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา ทำการป้องกันโรคระบาดนิวคาสเซิลโดยการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 16 สัปดาห์
23 กรกฎาคม 2551
9,403
ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นต้องมีการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟัก ให้ทำการตัดปากบนออก 1 ใน3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่เพื่อให้ไก่อบอุ่นด้วยอุณหภูมิ 95 องศา F ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศา F กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา และว่างอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 ขวด ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ และโรคฝีดาษ เมื่อลูกไก่อายุ 1-7 วัน การให้อาหารลูกไก่ ระยะกก (1-14 วันแรก) ควรให้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้น อีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่ให้อย่างเหลือเฟือจนเหลือล้นราง ซึ่งเป็นเหตุให้ตกหล่นมาก ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปดาห์และน้ำหนักไก่โดยเฉลี่ยแสดงในตารางที่ 1
23 กรกฎาคม 2551
11,068
การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่อการค้านั้น จำเป็นจะต้องจัดสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบ มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้เลี้ยงไก่ได้นานปี จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ไข่จะต้องสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบมาตรฐาน ตามสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โรงเรือนที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1.สามารถป้องกันแดด ลม และฝนได้ดี 2.ป้องกันศัตรูต่างๆ เช่น นก, หนู, แมว ได้ 3.รักษาความสะอาดได้ง่าย ลักษณะที่ดีโรงเรือนควรเป็นลวด ไม่รกรุงรัง น้ำไม่ขัง 4.ควรห่างจากบ้านคนพอสมควร ไม่ควรอยู่ทางด้านต้นลมของบ้าน เพราะกลิ่นขี้ไก่อาจจะไปรบกวนได้ 5.ควรเป็นแบบที่สร้างได้ง่าย ราคาถูก ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ในท้องถิ่น 6.หากมีโรงเรือนไก่ไข่หลายๆ หลัง การจัดสร้างไม่ควรให้เป็นเรือนแฝดแต่ควรเว้นระยะห่างของแต่ละโรงเรือนไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการระบายอากาศ และความชื้นดีขึ้น รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่ ลักษณะและการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อใช้เลี้ยงไก่ไข่มีอยู่หลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รูปแบบของการเลี้ยง ความยากง่าย ทุน และวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่เท่าที่มีการจัดสร้างในประเทศไทยมีรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้
22 กรกฎาคม 2551
59,759
16,043
ราคาน้ำมัน
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2566
น้ำมัน
ราคา
แก๊สโซฮอล์ 91
36.08 บาท
แก๊สโซฮอล์ 95
36.35 บาท
แก๊สโซฮอล์ E20
34.04 บาท
แก๊สโซฮอล์ E85
34.49 บาท
ดีเซล
33.44 บาท
ดีเซล พรีเมี่ยม
42.66 บาท