(8,344 เรื่อง)
5 ตุลาคม 2555
8,123
นายประยงค์ บุญทอง เกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีแรงจูงใจในการทำเกษตรจากการได้ฟังดำริของในหลวง ตอนหนึ่งว่า ถ้าเรามีน้ำแต่ไม่มีไฟฟ้าเราอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าแต่ไม่มีน้ำเราอยู่ไม่ได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เริ่มขุดสระน้ำขนาด 83-97 เมตร ลึก 4 เมตร และมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานตามศูนย์เรียนรู้ต่างๆที่ต่างจังหวัดและได้นำมาปรับใช้ในสวนของตนเองอย่างลงตัว ปัจจุบันทำการเกษตรผสมผสาน เน้นการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และเลี้ยงสัตว์ เช่น โคพันธุ์พื้นเมือง หมูขุน เลี้ยงปลาในนาข้าว เลี้ยงปลาในบ่อดิน และ เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ พร้อมแนะนำเทคนิคดีๆในการเลี้ยงกบ ผ่านทางรายการ่วมด้วยช่วยกัน ช่วง Farmer info *1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตร สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดชัยนาท
5 ตุลาคม 2555
3,128
เอกสารแจกเผยแพร่เพื่อให้ประชาชน จัดทำโดย : กองส่งเสริมการประมง กรมประมง พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์ชุมนุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus guramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิดแต่มีขนาดใหญ่กว่ามากมีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และน้ำยา ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่าง ๆ หรือจะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยงปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาดเป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขายเป็นปลาเนื้อหรือปลาสวยงาม ปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามหรือเป็นอาหาร ซึ่งตลาดผู้บริโภคต้องการน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม
4 ตุลาคม 2555
5,883
ดินเปรี้ยวจัด หรือ ดินกรดจัด ในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 9 ล้านไร่ โดย 5 ล้านไร่ หรือ กว่าครึ่งหนึ่งของดินเปรี้ยวทั้งหมด อยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกกันว่า ที่ราบลุ่มกรุงเทพฯ โดยมีพื้นที่ราวร้อยละ 35 ของพื้นที่ราบลุ่มนี้ ที่เหลือพบกระจัดกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณลุ่มน้ำจันทบุรี ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกและตะวันออกของภาคใต้ เช่น ที่ สงขลา นราธิวาส และ ปัตตานี ดินบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ 1. พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเก่า (Old delta) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี อ่างทอง และ พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ประมาณ 3.6 ล้านไร่ เกิดจากการทับถมของตะกอนที่พัดพาโดยแม่น้ำเจ้าพระยา และ แม่น้ำสุพรรณบุรี สูงจากระดับน้ำทะเล 15 เมตรโดยประมาณที่จังหวัดชัยนาท แล้วลาดเทลงมาทางใต้ จนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 5 เมตร เป็นดินนาชั้นดี และไม่เป็นกรด 2. พื้นที่ราบลุ่มใหม่ (New delta) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อยลงมาถึงชายทะเลอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 8.3 ล้านไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ที่เกิดจากตะกอนน้ำทะเล (Deltaic high) มีแร่ไพไรท์ไม่เกิน 0.8 % จึงไม่เป็นดินกรดจัด เป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ห่างไปทางทิศตะวันตกและตะวันออก ขนานกับแนวชายฝั่งอ่าวไทยซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 3-5 เมตร และพื้นที่ราบลุ่มโดยรอบ (Delta flat) ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 1-2 เมตร เกิดจากตะกอนน้ำกร่อย มีแร่ไพไรท์ค่อนข้างสูง เมื่อมีการยกระดับให้สูงขึ้น มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี ดินจะมีคุณสมบัติเป็นดินกรดจัด 3. พื้นที่เนินตะกอนรูปพัด (Fan terrace complex) เป็นพื้นที่โดยรอบของที่ราบลุ่มกรุงเทพฯ ทั้งด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออก ประมาณ 2 ล้านไร่ ดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate soil) มีพื้นที่ประมาณ 5 แสนไร่ หรือ ร้อยละ 11 ของพื้นที่ ดินมีความเป็นกรดรุนแรง ค่า pHต่ำกว่า 4.0 ผลผลิตข้าวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประมาณ 100-300 กิโลกรัมต่อไร่ พบได้ที่จังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ดินเปรี้ยวจัดในประเทศไทย รวมทั้งในภาคกลาง แบ่งออกได้ 3 ชั้นความเหมาะสม สำหรับการปลูกข้าว ดังนี้ 1. ดินกรดจัดน้อย (ชั้น P-IIa) เหมาะสมในการทำนา ความเป็นกรดของดินเป็นอุปสรรคบ้างเล็กน้อย เป็นดินเหนียว หน้าดินลึก การระบายน้ำเลว ดินบนมีค่า pHต่ำกว่า 5.5 ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ข้าวมีการตอบสนองต่อปุ๋ยน้อย ได้ผลผลิตประมาณ 250-350 กิโลกรัมต่อไร่ ดินชั้นนี้มีพื้นที่ประมาณ 3,500,000 ไร่ มี ประมาณ 3 แสนไร่ หรือ ร้อยละ 60 อยู่ในภาคกลาง ได้แก่ ดินชุดอยุธยา มหาโพธิ์ อยุธยา/มหาโพธิ์ เสนา บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา และ ท่าขวาง โดยดินชุดเสนา เป็นดินชุดที่มีพื้นที่มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 50 ของชั้น และ ร้อยละ 20 อยู่ในภาคกลาง 2. ดินกรดจัดปานกลาง (ชั้น P-IIIa) เหมาะสมในการทำนาปานกลาง ความเป็นกรดของดินเป็นอุปสรรคในการปลูกข้าว ต้องการการจัดการ เช่น การใส่ปูน เป็นดินเหนียว หน้าดินลึก การระบายน้ำเลว มีความเป็นกรดสูง ดินบนมีค่า pHต่ำกว่า 4.5 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การปลูกข้าวได้ผลผลิตต่ำ ประมาณ 150-250 กิโลกรัมต่อไร่ ดินชั้นนี้มีพื้นที่ประมาณ 1,500,000 ไร่ ได้แก่ ดินชุดรังสิต รังสิต (ที่สูง) รังสิต/เสนา และ ธัญบุรี โดยดินชุดรังสิต เป็นดินชุดที่มีพื้นที่มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 80 ของชั้น และ ร้อยละ 20 อยู่ในภาคกลาง 3. ดินกรดจัด (ชั้น P-IVa) ไม่เหมาะสมในการทำนา เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องความเป็นกรดของดินที่มีความรุนแรงมาก ต้องการการจัดการเป็นพิเศษ ดินบนมีค่า pHต่ำกว่า 4.0 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การปลูกข้าวได้ผลผลิตต่ำมาก ดินชั้นนี้มีพื้นที่ประมาณ 500,000 ไร่ ได้แก่ ดินชุดรังสิตกรดจัด ดินชุดองครักษ์ และ ดินชุดชะอำ โดยดินชุดรังสิตกรดจัด เป็นดินชุดที่มีพื้นที่มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 70 ของชั้น หรือ ร้อยละ 10 อยู่ในภาคกลาง การปรับปรุงดินกรดจัด ทำได้หลายวิธี ได้แก่ 1. การชะล้าง 2. การขังน้ำก่อนปลูก 3. การใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต 4. การใส่ปูน 5. การใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน 6. การใส่อินทรียวัตถุ 7. การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอ 8. การใช้ระบบปลูกพืชที่เหมาะสม การปรับปรุงดินกรด อาจมีความแตกต่างกัน และอาจต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน เพื่อความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ เช่น การแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดชุดมูโนะ ทดลองใช้ ทฤษฎีแกล้งดิน ให้ดินเปรี้ยวที่สุด โดยการทำให้ดินเปียกสลับแห้ง กระตุ้นให้ดินปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมาให้มากที่สุด แล้วจึงทำการปรับปรุงดินโดยการใช้น้ำชะล้าง ด้วยการขังน้ำแล้วระบายน้ำออก จะช่วยลดความเป็นกรดและสารพิษได้ และเมื่อมีการใช้วัสดุปรับปรุงดินควบคู่กับการล้างดิน จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการปรับปรุงดิน วัสดุปรับปรุงดินทางการเกษตรที่นิยมใช้เพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขความเป็นกรดของดิน มีหลายชนิด เช่น หินฟอสเฟตหรือหินฝุ่น ปูนขาว ปูนมาร์ล และ ปูนโดโลไมท์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวัสดุที่ได้จากผลิตผลธรรมชาติอีกหลายชนิด ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงดินได้ เช่น เปลือกหอย ตะกรัน ขี้เถ้า และ ยิบซัม เป็นต้น อัตราที่เหมาะสมของวัสดุที่ใช้ขึ้นกับชนิดของวัสดุนั้นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีแตกต่างกันไป การจะเลือกใช้ชนิดใด สามารถพิจารณาได้จากค่า ซีซีอี (CCE; Calcium Carbonate Equivalent) ซึ่งหมายถึงร้อยละของสมมูลย์แคลเซียมคาร์บอเนตที่สามารถปรับสภาพได้ ของวัสดุนั้นๆ กล่าวคือ ถ้าวัสดุนั้นมีค่า CCE ประมาณ 100% นับว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการช่วยปรับปรุงดินได้
4 ตุลาคม 2555
4,633
ในช่วงที่ภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่เช่นนี้พืชผลทางการเกษตรหลายชนิดของเกษตรกรอาจจะได้รับผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชในช่วงระยะเวลาต่างๆได้ เช่นเดียวกับการดูแลต้นกล้วยหอมทองช่วงฝนตกหนักอาจจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นได้เช่นกัน จากการสัมภาษณ์ นายนรินทร์ เกตุพิมล เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดปี 2552 จังหวัดชุมพร โดยคุณอรวรรณ รักษาผล ในรายการ Farmer Info ทางด่วนข้อมูลการเกษตรช่วง เวลา 13.30 น. วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2555 ทำให้ทราบว่าผู้ปลูกกล้วยหอมทอมสามารถลดความเสียหายดังกล่าวได้ โดยคำแนะนำของนรินทร์ ซึ่งมีประสบการณ์ในการปลูกกล้วยหอมทองมากว่า 20 ปี ดังนี้
4 ตุลาคม 2555
18,911
ไม้กฤษณาเป็นไม้ที่พบมากในจังหวัดตราด บริเวณป่าเขาที่มีความชื้นโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอบ่อไร่ ที่มีพื้นที่ติดกับแนวชายเขา ทำให้พบไม้กฤษณาในธรรมชาติเป็นจำนวนมาก และมีการนำกล้าไม้กฤษณาจากป่ามาเพาะโดยชาวบ้านที่มีอาชีพหาของป่า จนกระทั่งมีการทดลองปลูกในพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ พบว่าไม้กฤษณาเมื่อมีอายุได้ประมาณ 5-10 ปี มีโอกาสโค่นล้มได้ง่ายส่วนหนึ่งเกิดจากขั้นตอนในการเลือกต้นกล้าพันธุ์สำหรับนำมาเพาะปลูกลงแปลงที่มีขนาดใหญ่ คือ มีอายุมากกว่า 1 ปี ระบบรากของกล้าไม้กฤษณาจะคดงอ เมื่อนำไปปลูกจะโค่นล้มได้เมื่อมีลมแรงๆ ส่วนหนึ่งอาจตายหรือได้รับความเสียหาย ผลผลิตที่ได้ลดลง เกษตรผู้ปลูกไม้กฤษณาจึงลงทุนซื้อไม้ค้ำยันซึ่งก็สามารถแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง
4 ตุลาคม 2555
4,554
4 ตุลาคม 2555
5,451
ราคาน้ำมัน
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2566
น้ำมัน
ราคา
แก๊สโซฮอล์ 91
36.08 บาท
แก๊สโซฮอล์ 95
36.35 บาท
แก๊สโซฮอล์ E20
34.04 บาท
แก๊สโซฮอล์ E85
34.49 บาท
ดีเซล
33.44 บาท
ดีเซล พรีเมี่ยม
42.66 บาท