เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร
อยู่บ้านช่วงนี้...ดูแลตัวเองกันดีดีนะ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลัง และเลือกกินแต่ของที่ดีมีประโยชน์ ช่วยให้สุขภาพของเรานั้นแข็งแรงอยู่เสมอ วันนี้เราเลยมีพืชผักที่กินแล้วดีกับทุกส่วนของร่างกาย มีติดบ้านไว้ดีแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น ฟักทอง บล็อกโคลี ผักโขม สะระแหน่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มะละกอ ล้วนแล้วแต่ดีต่อสุขภาพของเรา ฟักทอง - อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น บร็อคโคลี่ - มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารประกอบกลุ่มฟีนอลิกซึ่งอาจช่วยลดการอักเสบและความเสียหายของเซลล์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ทั้งยังมีสารอินโดล-3-คาร์บินอลที่คาดว่าอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ด้วย สะระแหน่ - ใบรสหอมร้อนขับเหงื่อ แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้ พอกหรือทา แก้ปวดบวม ผื่นคัน ฆ่าเชื้อโรค ทั้งต้นและใบ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ยาชงจากใบใช้ดื่มเพื่อช่วยย่อยอาหาร ใบขยี้ทาภายนอกแก้พิษแมลงต่อย แก้ผดผื่นคัน แก้การอักเสบของแผล ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ - ช่วยลดความเสี่ยงที่ทำให้สมองเสื่อม และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแล้ว เบอรี่ยังมีประโยชน์ด้านความงามอีกด้วย มะละกอ - เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น ผักโขม - ผักโขม อาหารเพิ่มพลังของป๊อบปอาย เป็นผักที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของผักโขมบรรจุกระป๋องหรือผักสด ผักโขมผักโขมอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ และแร่ธาตุ ทั้งยังมีแคลอรีต่ำด้วย การรับประทานผักโขมทุกๆ 100 กรัม คุณจะได้รับโพแทสเซียมปริมาณ 558 มก. ลองผสมผักโขมลงไปในสมูทตี้หรือในมื้ออาหารของคุณดูบ้าง แล้วจะเห็นว่าสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีสรรพคุณที่่แตกต่างกันออกไป เรียกได้ว่าดูแลได้ตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยทีเดียว ด้วยความห่วงใยจากรักบ้านเกิด
24 พฤษภาคม 2563
3,524
มีเศษผักอย่าทิ้ง!!! เพราะมันคืนชีพได้ อะอะอย่าพึ่งทิ้งขยะ เก็บกลับมาก่อน เพราะเราสามารถชุบชีวิตเศษผักเหล่านี้ให้กลายเป็นผักสดต้นใหม่ได้ง่าย ๆ ไม่ยาก นอกจากเราจะสร้างแหล่งอาหารได้เอง ยังช่วยลดขยะได้อีกด้วย #ผักกวางตุ้ง วิธีทำ: ตัดส่วนโคนต้นที่ยังมีรากอยู่ให้เหลือความยาวประมาณ 2 นิ้ว นำส่วนรากนี้ไปแช่ในน้ำ แค่ปริ่มน้ำ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ รอให้มียอดใหม่แตกหน่อขึ้นมา นำโคนที่มียอดใหม่ขึ้น ไปลงดิน พอต้นโต เราจะได้ผักกวางตุ้งต้นใหญ่ ๆ อวบ ๆ กลับมาอีกครั้ง ! #แครอท วิธีทำ: ตัดหัวแครอทส่วนโคนยอด ไปแช่น้ำปริ่ม ๆ เมื่อใบยอดอ่อนขึ้น นำส่วนยอดอ่อนไปปรุงอาหารได้ เมื่อออกดอก นำเมล็ดผลจากดอกไปปลูกต่อได้ #ผักชี วิธีทำ: ตัดผักชีส่วนโคนที่ติดราก แช่น้ำประมาณ 1/2 ของลำต้นทั้งหมด ต้นผักชีจะแตกใบใหม่ออกมาเรื่อย ๆ ถ้าอยากให้ใบใหญ่ขึ้น ให้นำไปลงดิน #หอมใหญ่ วิธีทำ: ตัดหอมหัวใหญ่ส่วนโคนติดราก ตัดขอบ 4 มุม ให้เป็นทรงลูกบาศก์ นำส่วนรากฝังลงดิน และนำดินกลบ เมื่อออกใบอ่อน ก็นำใบมาทำอาหารได้ เมื่อใบแก่และเหี่ยวก็ถึงเวลาเก็บเกี่ยวลูกหอมเล็ก ๆ ของเราได้
16 พฤษภาคม 2563
3,966
ช่วงนี้หลายคนมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น เพราะต้องเว้นระยะห่างทางสังคม บางคนกักตัวอยู่บ้าน หรือบางคนก็อาจจะต้องทำงานที่บ้าน จะเดินทางไปไหนก็ยังลำบาก แต่ถ้าหากอยู่เฉยๆ ก็คงน่าเบื่อ รักบ้านเกิดจึงอยากมาชวนปลูกผักทานเองค่ะ ทั้งปลอดภัยและยังเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันในครอบครัวได้ แต่ธรรมชาติของผักแต่ละชนิดนั้น จะมีอายุการเก็บเกี่ยวที่ต่างกัน ดังนั้นก่อนการปลูกผักจึงจำเป็นต้องรู้ระยะเวลาเก็บที่เหมาะสม ปลูกผักกี่วัน ถึงจะนำมารับประทานได้อร่อย เพื่อให้ผักในสวนหลังบ้านที่ลงมือปลูกเองมีรสชาติพอดี ไม่แก่ หรืออ่อนเกินไป
1 พฤษภาคม 2563
5,708
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ "ไวรัส Covid-19" ในช่วงนี้ คงทำให้ทุกคนต้องอยู่ติดบ้าน หลายบริษัทเลือกที่จะให้พนักงาน Work from home. เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อ และยังมีประกาศของรัฐบาลที่ประกาศปิดพื้นที่เสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์การค้าเป็นการชั่วคราว รวมไปถึงกำหนดเวลาเปิดร้านสะดวกซื้อในเวลาที่จำกัดอีกด้วย หลายคนคงเริ่มกักตุนอาหารสดกันไว้เพียบ เพราะไม่อยากเสี่ยงออกจากบ้านบ่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่าของกักตุนต่างๆ ก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน ทั้งผักสด หรือของสด ที่พร้อมจะแห้งเหี่ยวเน่าเสียง่าย รักบ้านเกิดจึงมีกลเม็ดเคล็ดลับดีๆ มาฝาก เป็นวิธีเก็บอาหารให้อยู่ได้นานในช่วงที่ต้องอยู่กับบ้านอีกหลายวัน เพื่อจะได้เก็บรักษาความสดใหม่ของวัตถุดิบต่างๆ ให้เก็บได้นานขึ้น มาลองทำตามวิธีต่อไปนี้กันเลยค่ะ
3 เมษายน 2563
5,011
สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ยังคงแพร่ระบาดอยู่อย่างต่อเนื่องในขณะนี้ ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ไวรัสชนิดนี้มีผลกระทบกับคนทุกกลุ่ม ทุกจังหวัด โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งหากพบว่ามีอาการไข้สูง 37.5 องศา ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ฯล ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้เบื้องต้นของการติดเชื้อ ซึ่งอาจต้องป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น อาจจะต้องกักตัวอาศัยอยู่บ้านเป็นเวลานาน หรือพนักงานที่ต้องทำงานที่บ้าน หากต้องอยู่แต่ในบ้าน จะมีพืชผักชนิดไหนบ้าง ที่เมื่อซื้อแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานๆ ไม่ต้องซื้อบ่อย รักบ้านเกิด นำมาฝากกันค่ะ
17 มีนาคม 2563
9,806
เพอร์มาคัลเจอร์ อาจจะฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าหากเทียบกับคำในภาษาไทย มันก็คงจะพูดถึงการ ใช้ชีวิตในแบบพอเพียง การทำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งแนวคิดนี้ก็ไม่ต่างจากคำสองคำนี้มากนัก เพอร์มาคัลเจอร์ (permaculture) เป็นแนวคิดและวิถีทางการเกษตรที่เน้นเรื่องความยั่งยืนของชีวิตและสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นในต่างประเทศเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว องค์ความรู้แบบฝรั่งนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการทำการเกษตร แต่ครอบคลุมถึงการออกแบบวิถีการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรกรรม รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ ซึ่งต้องอิงหลักการออกแบบพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง หัวใจหลักของเพอร์มาคัลเจอร์ ไม่ว่าจะนำไปใช้ที่ไหน อันดับแรกเลยก็คือการใส่ใจโลก เพราะถ้าไม่มีโลก เราเองไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ สอง การใส่ใจผู้อื่น เพื่อให้เราสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ และสุดท้าย มีความเป็นธรรม เลือกใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นและคืนสิ่งที่ดีกลับสู่ธรรมชาติด้วย การจัดพื้นที่แบบเพอร์มาคัลเจอร์ ยังเน้นการจัดวางที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดประโยชน์สูงสุดในตัวเอง และเมื่อสิ่งเหล่านั้นรวมกันแล้วจะต้องเกิดประโยชน์สูงกว่าการที่พวกมันอยู่เดี่ยวๆ โดยต้องใช้พลังงาน แรงงานและสร้างขยะให้น้อยที่สุด เมื่อจัดพื้นที่ปลูกผักได้แล้ว ใครที่มีพื้นที่มากหน่อย ก็ยังสามารถขยับขยายมาทดลองจัดพื้นที่ 6 โซน เพื่อทำให้พื้นที่ใช้สอยในการปลูกผักแต่ละชนิดส่งเสริมกันไปด้วยก็ได้ โดยไล่ลำดับความสำคัญจากพืชผักที่ใกล้ชิดกับตัวเรามากที่สุด ออกไปสู่ป่าขนาดใหญ่ แบบนี้ - Zone 1โซนบ้านที่อยู่อาศัย เน้นการประหยัดพลังงานให้ได้มากที่สุด ออกแบบให้เข้ากับธรรมชาติ และสมดุลทั้งในด้านการทำงานและการอยู่อาศัย - Zone 2โซนพืชผักใกล้บ้าน สำหรับปลูกพืชที่ต้องดูแลมากหน่อย เช่น ผักในฟาร์ม ผลไม้ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นที่สำหรับทำเรือนกระจก เลี้ยงไส้เดือน ทำปุ๋ยจากขยะอาหาร ถ้าเป็นเพอร์มาคัลเจอร์ ในเมืองจะนิยมปลูกพืชแบบ raised bed หรือการสร้างแปลงผักขนาดเล็ก - Zone 3ปลูกพืชที่ต้องการดูแลน้อยลงมาอีกหน่อย เช่น พืชหมุนเวียนตามฤดูกาล พืชหัว หรือเลี้ยงผึ้ง - Zone 4โซนปลูกพืชสำหรับนำไปขาย ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นประจำ อาจผลัดมาใส่ปุ๋ย หรือรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง - Zone 5พื้นที่กึ่งป่า ปล่อยเอาไว้เพื่อเก็บผักกินหรือปลูกต้นไม้เอาเนื้อไม้ไปใช้ - Zone 6โซนป่า หรือพื้นที่ที่ควรปล่อยทิ้งให้ระบบนิเวศจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง จึงมีทั้งแมลงและพืชต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเอง เพื่อช่วยบำรุงระบบนิเวศและส่งเสริมให้โซนอื่นๆ สามารถอยู่ได้
18 กุมภาพันธ์ 2563
3,955
ถังรักษ์โลกจะทำยังไง และต้องใช้อะไรบ้างไปดูกัน วัสดุประกอบด้วย 1. ตะกร้า 1 ใบ (เลือกตะกร้าที่ปากตะกร้าขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกับถังใบใหญ่) 2. ถังพลาสติก 2 ใบ (ขนาดเล็ก1 ใบ และขนาดใหญ่ 1 ใบ) วิธีการทำถังหมักรักษ์โลก 1. คว่ำถังพลาสติกขนาดเล็กลงในตะกร้า โดยให้มีความลึกลงไปจากปากตะกร้าประมาณ 5 -10 เซนติเมตร และจะต้องเหลือช่องของตะกร้าขึ้นมาจากปากถังที่คว่ำลงไป ประมาณ 2 ช่อง จากนั้นทำการตัดก้นถังพลาสติกใบเล็กออก 2. คว่ำถังพลาสติกขนาดใหญ่ลงบนปากตะกร้าให้พอดี จากนั้นนำเชือกมาผูกมัดให้ติดกัน ตัดก้นถังใบใหญ่ออกและส่วนที่ตัดออกนำมาทำเป็นฝาปิด การติดตั้งถังหมักรักษ์โลก 1. เลือกพื้นที่ติดตั้งถังหมักรักษ์โลก โดยเลือกพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดเวลา ไม่ควรอยู่ใต้ร่มเงาไม้ หรือแสงแดดรำไร 2. ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าตะกร้า และมีความลึกมากกว่ารอยต่อของตะกร้าและถังพลาสติกใบใหญ่เมื่อวางลงไป 3. นำถังหมักรักษ์โลกที่ทำการประกอบเสร็จเรียบร้อยวางลงไปกลางหลุมที่ขุดไว้ และกลบด้วยดินที่ขุดขึ้นมา โดยการกลบจะต้องกลบแบบหลวมๆ ไม่อัดดินให้แน่น 4. จากนั้นก็นำเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนมาเททิ้งใส่ถัง โดยระมัดระวังไม่ให้เศษอาหารตกเข้าไปในช่องระหว่างถังพลาสติกใบเล็กและถังพลาสติกใบใหญ่ หลักการทำงานของถังหมักรักษ์โลก ถังหมักรักษ์โลกจะใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในดินที่มีอยู่เดิม มาทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ แต่ถ้าบริเวณนั้นดินเสื่อมโทรมมีจุลินทรีย์ตามธรรมชาติอยู่น้อย ก็อาจจะเพิ่มจุลินทรีย์ได้โดยการเติมขี้วัว หรือเติมน้ำหมักชีวภาพเข้าไปรองพื้นตระกร้าก่อนเทเศษอาหารได้
11 กุมภาพันธ์ 2563
4,444