คำกลอนของแม่ จุดประกายให้ลูก
เดิมทีพี่โอเล่ทำอาชีพวิศวกรโยธามาตลอด 15 ปี แทบไม่ได้กลับบ้านหรือพูดคุยกับพ่อแม่เลย ด้านพ่อแม่ก็เป็นเกษตรกรและทำเกษตรอินทรีย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล จนมีอยู่วันหนึ่งมีเหตุให้พี่โอเล่ต้องกลับบ้าน และได้พบคุณแม่ที่กำลังอบรมนักศึกษาที่มาดูงานพร้อมได้ยินคำกลอนของแม่ที่ท่องให้เหล่านักศึกษาฟังว่า
"กลับบ้านเถอะลูก พ่อปลูกต้นท้อไว้รอเจ้า
กลับบ้าน สู่บ้านเรา ไหนว่าเจ้า ไปเพื่อเรียน
หลายปีผ่านไป สุขทุกข์อย่างไร พ่อรออยู่
ดอกท้อชู ช่อชู ไกลสุดกู่ หรืออย่างไร
พ่อทำฝนเทียม และห้วนฝาย ไว้คอยเจ้า
พร้อมเมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่ๆ
เจ้าจงมาเตรียมการหวานไถ่ เพื่อจะได้มีอยู่ มีกิน
กลับบ้านเถอะลูก เจ้ากลับบ้านถูกใช่ไหม
เจ้าจงมาเป็นชีวิตใหม่ เป็นแสงตะเกียง และเสียงพิณ
ให้ผู้อยู่ถิ่น...ได้ชื่นใจ"
กลับบ้าน สู่บ้านเรา ไหนว่าเจ้า ไปเพื่อเรียน
หลายปีผ่านไป สุขทุกข์อย่างไร พ่อรออยู่
ดอกท้อชู ช่อชู ไกลสุดกู่ หรืออย่างไร
พ่อทำฝนเทียม และห้วนฝาย ไว้คอยเจ้า
พร้อมเมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่ๆ
เจ้าจงมาเตรียมการหวานไถ่ เพื่อจะได้มีอยู่ มีกิน
กลับบ้านเถอะลูก เจ้ากลับบ้านถูกใช่ไหม
เจ้าจงมาเป็นชีวิตใหม่ เป็นแสงตะเกียง และเสียงพิณ
ให้ผู้อยู่ถิ่น...ได้ชื่นใจ"
คุณแม่ลำพึง ศรีสาหร่าย ผู้แต่ง
คำกลอนนี้ได้จุดประกายและทำให้พี่โอเล่ตั้งมั่นกับตนเองว่าจะกลับมาทำเกษตรสืบทอดเจตนารมณ์ของคุณแม่ให้ได้ ซึ่งท่านก็มีความฝันว่า สักวันท่านจะมีพื้นที่ของตนเองและให้ลูกหลานมีอยู่ มีกิน จนในปี 2556 คุณพ่อและคุณแม่ของพี่โอเล่ได้ซื้อที่ดิน 15 ไร่ในจ.ราชบุรี พร้อมช่วยกันพลิกผืนดินแห้งแล้งที่เคยเป็นไร่มันสำปะหลังเคมี ให้กลายเป็นผืนดินแห่งเกษตรอินทรีย์ได้ในที่สุด
"ฟาร์มฝันแม่" ดูแลด้วยรัก ฟูมฟักดั่งลูก
โดยบนพื้นที่ 15 ไร่ของฟาร์มฝันแม่ พี่โอเล่ได้จัดสรรพื้นที่ตามระบบเกษตรอินทรีย์ แบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่
เมื่อคุณพ่อและคุณแม่เริ่มทำเกษตรบนพื้นที่ของตัวเองได้เพียง 2 ปี คุณพ่อผู้ร่วมสร้างความฝันท่านได้เสียชีวิตกะทันหัน ทำให้พี่โอเล่ทิ้งทุกอย่าง กลับมาอยู่กับแม่ ครอบครัว และใช้ทุกเวลาที่เหลือกับคนที่รัก พร้อมสานต่อความฝันของแม่ที่พ่อได้ร่วมสร้างให้เป็นจริง ในชื่อ "ฟาร์มฝันแม่ เกษตรอินทรีย์" กับสโลแกนที่ว่า "ดูแลด้วยรัก ฟูมฟักดั่งลูก"
โดยบนพื้นที่ 15 ไร่ของฟาร์มฝันแม่ พี่โอเล่ได้จัดสรรพื้นที่ตามระบบเกษตรอินทรีย์ แบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่
1.โซนป่าไม้และไม้กันชน 6 ไร่ โดยเลือกปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็น ตะเคียนทอง กฤษณา พะยุง ประดู่ ไม้ยางนา และไม้กันชนอย่างต้นทองอุไร ซึ่งเป็นต้นไม้ที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูธรรมชาติที่จะช่วยสร้างความสมดุลให้ธรรมชาติไปในตัว
2.โซนผลไม้ยืนต้น 4 ไร่ โดยพี่โอเล่จะปลูกไม้ผลหลากชนิดที่ให้ผลผลิตตามแต่ฤดูกาล เช่น มะม่วง ส้มเขียวหวาน
3.โซนพืชผักพืชไร่ 4 ไร่ 1 งาน ซึ่งมีทั้งแบบในโรงเรือนและนอกโรงเรือน
4.โซนแหล่งน้ำ 2 งาน แบบเจาะบาดาลและมีการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดึงน้ำมาใช้ในการทำเกษตร
5.โซนที่อยู่อาศัย 1 งาน
เกษตรอินทรีย์บนพื้นฐานข้อมูล โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พี่โอเล่ตั้งใจทำเกษตรแบบสมัยใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล มีการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อลดอุปสรรคทางการเกษตรต่างๆ เช่น โรค แมลง ศัตรูพืช โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาผลผลิตและตอบสนองความต้องการของพืช พร้อมทั้งนำองค์ความรู้ที่ได้อบรมมาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาปรับใช้และนำมาพัฒนาฟาร์มฝันแม่ในปีต่อๆ ไป
อย่างการทำโรงเรือนระบบปิด ที่จะช่วยลดปัญหาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และสามารถสร้างผลผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งปัจจุบันฟาร์มฝันแม่มีทั้งหมด 7 โรงเรือนสำหรับปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง เช่น เมล่อน มะเขือเทศ โดย 4 โรงเรือนจะมีการติดตั้งระบบ Smart farm ที่สั่งการผ่านสมาร์ทโฟน
โดยพี่โอเล่เสริมว่า "การทำโรงเรือนระบบ Smart farm เราต้องศึกษาว่าพืชที่ปลูกต้องการอะไร แล้วเราจึงนำเทคโนโลยีเข้ามาให้เขา อย่างเช่น หน้าฝนมะเขือเทศไม่ชอบฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูงที่ก่อให้เกิดเชื้อรา เราก็นำพัดลมมาช่วยลดความชื้นในอากาศ หรือในช่วงที่มะเขือเทศต้องการแสง เราก็นำระบบโซล่าเซลล์เข้ามาใช้"
นอกจากนี้พี่โอเล่ยังมีแอปพลิเคชั่น : ฟาร์มฝันแม่ ในการช่วยเก็บข้อมูลของฟาร์มทำให้ทราบปัญหาที่ผ่านมา แล้วนำไปวิเคราะห์และวางแผนหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวในปีถัดไปได้ รวมถึง TOCA Platform แพลตฟอร์มของสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้ามาเรียนรู้และวางแผนการทำเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการวางแผนวันปลูก วันเก็บเกี่ยว ไปจนถึงปลายน้ำอย่างการให้ผู้บริโภคเข้ามาสั่งซื้อผลผลิตได้เลย ซึ่งผลผลิตของฟาร์มฝันแม่ก็จำหน่ายอยู่ใน TOCA Platform เช่นกัน
ผักผลไม้ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ด้วยความตั้งใจที่อยากทำผักผลไม้ไร้สารเคมีให้คนได้รับประทาน ฟาร์มฝันแม่จึงมุ่งเน้นผลผลิตอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน โดยพี่โอเล่เสริมว่า "เราตั้งใจขอมาตรฐานมาตั้งแต่เริ่มต้นทำเกษตร อย่างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM 2018-2019 ในพืช 63 รายการ มาตรฐาน PGS 98 รายการ และปัจจุบันอยู่ในช่วงขอรับรอง Organic Thailand ในพืชอีก 25 รายการ"
กลุ่มลูกค้าหลักของฟาร์มฝันแม่จึงเป็นคนที่ใส่ใจในสุขภาพและเข้าใจในเรื่องมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ และโรงเรียน โรงแรม ร้านอาหารที่เน้นวัตถุดิบอินทรีย์ รวมถึงลูกค้าที่ติดตาม Facebook page : ฟาร์มฝันแม่ เกษตรอินทรีย์ โดยพี่โอเล่จะคอยอัปเดตผลผลิตและเสริมด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจของฟาร์ม เพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในผลผลิตและกลับมาซื้อซ้ำ พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการแปรรูปและสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ใหม่ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
"ในการส่งผลผลิตไปร้านดังๆ อันดับแรกเราต้องมีมาตรฐานก่อน แล้วเราก็สร้าง Story ของฟาร์มให้น่าสนใจ เมื่อเชฟมาเห็นเขาก็ติดต่อเรามา จากนั้นเราต้องรักษาคุณภาพผลผลิตให้ดี แล้วเขาก็มีการบอกต่อในกลุ่มเชฟด้วยกัน โดยที่เราไม่ต้องออกไปเสนอขายเลย เขาซื้อความเชื่อมั่นเชื่อใจในฟาร์มฝันแม่"
นอกจากนี้พี่โอเล่ยังเสริมว่าในช่วงวิกฤตโควิด ฟาร์มฝันแม่แทบไม่ได้รับผลกระทบเลย เนื่องจากที่ฟาร์มทำเกษตรบนพื้นฐานของข้อมูล เมื่อเห็นว่ามีโควิดระบาดที่ประเทศจีนจึงปรับกลยุทธ์มานำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นและต่อเนื่อง รวมถึงมีการวางแผนว่าจะปลูกอะไร เก็บเกี่ยวเมื่อไหร่ แล้วเปิดให้ลูกค้าเข้ามาสั่งจองก่อน จนปัจจุบันแทบปลูกให้ไม่ทันกันเลยทีเดียว
ความภูมิใจของเกษตรกรวิถีอินทรีย์
พี่โอเล่ได้เล่าถึงความภาคภูมิใจของตนเองว่า "ผมสามารถกลับมาสานต่อความฝันของแม่ได้ มาสร้างอาชีพให้เกษตรกร สร้างรายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ และอีกหนึ่งความภูมิใจ คือการได้เป็นเมล็ดพันธุ์ของสวทช.และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ทำให้ฟาร์มฝันแม่ได้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรในภาคตะวันตกต่อไป"
ความสุขในการทำเกษตรของพี่โอเล่ จึงเป็นการได้สอนคนให้มีอาชีพและประสบความสำเร็จได้ การมีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูณ์ ไม่มีมลพิษ ผลิตอาหารที่ปราศจากสารเคมีให้ครอบครัวและผู้บริโภคได้ทาน พร้อมกล่าวเสริมว่า "อีกความสุขของผม คือการได้อยู่บนพื้นที่ทำเกษตร 15 ไร่ ที่มีพ่อแม่อยู่กับผมตลอดเวลา เนื่องจากพ่อแม่ผมเสียไปแล้ว ต้นไม้ต้นแรกที่ครอบครัวร่วมกันปลูกคือต้นโพธิ์ ซึ่งท่านก็สั่งเสียไว้ว่าให้นำกระดูกมาฝังที่นี้ ต้นโพธิ์แห่งนี้จึงเปรียบเสมือนจุดกำเนิดของฟาร์มฝันแม่"
รักบ้านเกิดขอขอบคุณพี่โอเล่มากๆ นะครับ และหวังว่าเรื่องราวการเดินทางสู่วิถีเกษตรกรของพี่โอเล่และฟาร์มฝันแม่ จะสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนหวนคืนสู่บ้านเกิดมาทำเกษตร พร้อมสร้างสรรค์ผลผลิตที่ปราศจากสารเคมีได้มาตรฐานด้วยการทำเกษตรอินทรีย์กันนะครับ