เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

มะรุม Superfood แห่งปี 2565

12 มกราคม 2565
2,183
"มะรุม" ก้าวขึ้นสู่ superfood ปี 65 และยังได้รับการขนานนามว่าเป็นสุดยอดสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณทางยามากมาย และยังเป็นอาหารยอดนิยมที่ทั้งคนไทยและต่างประเทศต่างพาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากให้โภชนาการที่สมบูรณ์และมีสรรพคุณมากมาย ที่สำคัญยังเป็นพืชที่ตลาดโลกกำลังจับตามอง
มาทำความรู้จักกับ มะรุม

มะรุม เป็นสมุนไพรยอดนิยมรู้จักกันมานานมากกว่า 4000 ปี เพื่อนำมาบำรุงรักษาร่างกายและใช้ในการรักษาโรคได้ถึง 300 ชนิด โดยเฉพาะโรคที่สำคัญ มะเร็ง, ขาดสารอาหาร, เอดส์ โดยมะรุมมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชีย อินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย สามารถพบได้ทั่วไปในแอฟฟริกาและเขตร้อนของประเทศอเมริกา



สำหรับในประเทศไทยพันธุ์มะรุมได้ทุกภาคโดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปคือ พันธุ์ข้าวเหนียวและพันธุ์กระดูก (Moringa Stenopetala) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่นิยมใช้ในการบริโภคและวิจัยทดลองมากที่สุดอีกด้วย ในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมปลูกมะรุมไว้ในละแวกบ้าน เพื่อนำมาใช้ในการบริโภคเพื่อไว้ทำเป็นอาหาร เนื่องจากสามารถกินได้หลายส่วนทั้ง ยอด ดอก ใบ ส่วนมากจะนิยมนำใบมาทำอาหารเช่น แกงส้ม ซอสราดข้าวและอาหารหรือนำมาบดแห้งป่นสำหรับโรยหน้าอาหาร



ส่วนมะรุมในด้านสมุนไพรนั้นคนในสมัยโบราณก็นำส่วนต่างๆของมะรุมมาทำเป็นสมุนไพรบำบัดอาการเจ็บป่วยเช่นกัน เช่น แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ ขับลม แก้อักเสบ ข้อปัสสาวะ ลดไข้ บำรุงร่างกาย ฯลฯ และด้วยเหตุผลเหล่านี้ที่มะรุมเป็นได้ทั้งอาหารและยาผู้คนในอดีตจึงนิยมปลูกไว้ใกล้บ้านซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามะรุมเป็นพืชผักสมุนไพรที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะของต้นมะรุม
มะรุมเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3 - 4 เมตร ลักษณะใบเป็นรูปแบบขนนกคล้ายกับใบมะขาม ผิวใบสีเขียว ด้านล่างจะสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20 - 50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะความยาวของฝัก ฝักแก่เปลือกผิวสีน้ำตาล




แต่ละส่วนของมะรุม มีสรรพคุณต่างกันอย่างไร

มะรุม เป็นพืชที่สามารถรักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้อักเสบ ปอดอักเสบ ฆ่าจุลินทรีย์ หรือเป็นยาปฎิชีวนะ และแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้เป็นยาได้


ราก - มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงธาตุไฟ

เปลือกจากลำต้น - มีรสร้อนนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรคปวดหลังปวดตามข้อได้หรือจะรับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ทำให้เรอ หรือนำใบมะรุมสดมาบดตำพอให้แตก อมไว้ข้างแก้มจะช่วยแก้เมาสุราได้

กระพี้ - แก้ไขสันนิบาดเพื่อลม

ใบ - ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์ยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินและแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และยังให้โปรตีนที่มากกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบท

ดอก - ช่วยขับปัสสาวะ ดื่มตอนก่อนนอนจะช่วยให้หลับสบาย




ฝัก - มีรสหวาน ช่วยลดไข้ได้

เมล็ด - เมื่อนำเมล็ดมะรุมมาสกัดเป็นน้ำมัน สามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้ รักษาอาการปวดตามข้อ โรคเก๊าท์ โรครูมาติซั่ม โรคผิวหนัง โรคเชื้อราและโรคผิวหนัง

เนื้อในเมล็ดมะรุม - ใช้แก้อาการไอ และช่วยเสริมสร้างความต้านทานได้ดี

สรรพคุณพิเศษของมะรุม

การป้องกันมะเร็ง สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน จากมะรุม สามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ มีการทดลองในหนูค้นพบว่า หนูที่ได้รับฝักมะรุมจะเกิดอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับฝัก


ฆ่าจุลินทรีย์ สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปีพ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ โดนนำเอาน้ำมะรุมที่ได้จากการคั้นมาหยอดหูจะช่วยบรรเทาอาการปวดหูได้


ชะลอความแก่ เนื่องจากในมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (Rutin และ Quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (Lutein และ Caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอว่าสามารถต้านได้จริงหรือไม่


น้ำมันมะรุม ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ หยอดหูฆ่าป้องกัน พยาธิในหู เยื่อบุหูอักเสบ หูน้ำหนวก รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา งูสวัด รักษาแผลสด


ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม จากการศึกษาการกินสารสกัดในหนูที่กินอาหารไขมันสูง มีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง






มะรุมปลูกอย่างไร

มะรุมเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ ดูแลรักษาง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงนิยมปลูกไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้านเป็นผักสวนครัวประจำบ้าน


ส่วนใหญ่การปลูกมะรุมจะนำไปเพาะเมล็ดในถุงดำก่อนหลังจากนั้นค่อยแกะออกและนำต้นกล้าลงปลูกในดิน รดน้ำใช้ไม้ปัดมักด้วยเชือก มะรุมเป็นพืชที่โตเร็ว หากได้สารอาหารเพียงพอเมื่อมะรุมมีอายุ 2-3 ปีก็สามารถนำผลผลิตที่ได้ไปต่อยอดขายได้ทั้ง ยอด ดอก ฝักอ่อน ฝักแก่ นำไปแปรรูปได้ทั้ง น้ำมะรุม สบู่ น้ำมันมะรุม ครีม สบู่ ชาชง ยาลูกอม ลูกสมุนไพรประคบ เป็นต้น


ในปัจจุบันมีการนำมะรุม ไปแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมายทั้งแบบแคปซูล น้ำดื่มสมุนไพรมะรุม น้ำมัน ผงชงดื่ม แผ่นแป้ง เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทาน ซึ่งมะรุม และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะรุมกำลังเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาเพราะมีอัตราการใช้เป็นวัตถุดิบ การบริโภคมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562

โอกาสตลาด มะรุม ไทยในสหรัฐฯ

แม้ว่า มะรุม เป็น Superfood ที่กำลังเป็นกระเเสในสหรัฐอเมริกาแต่ยังมีอัตรานำเข้า มะรุมที่น้อยกว่า Superfood ชนิดอื่นๆ เช่น ขมิ้น ถั่วไก่ อัลมอนด์ แต่ด้วยคุณสมบัติและสรรพคุณทำให้ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของเกษตรกรไทยที่จะขยับขยายตลาดไปสหรัฐอเมริกา ซึ่งสินค้าที่มีผลตอบรับทางการตลาดที่ดีได้แก่ น้ำมันมะรุม มะรุมบดแบบผง ชามะรุม มะรุมแคปซูล ฝักมะรุมสดแช่เเข็งและเครื่องดื่มมะรุม


การรับประทาน มะรุม หรือ Superfood ชนิดต่างๆควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะไม่ควรรับประทานมากจนเกินไปเพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ส่วนทางด้านการเพิ่มผลผลิตเพื่อการส่งออก หากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความส่งเสริมและคำปรึกษา การพัฒนาในการแปรรูป มะรุม ก็จะสามารถเพิ่มพื้นที่ทางการตลาดและการส่งออกได้อีกด้วย
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/moringa.pdf
https://www.disthai.com/16589577/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2
https://www.disthai.com/16488241/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1
https://www.virginactive.co.th/home/coach/food_and_nutrition/top_5_super_foods2019.aspx
http://www.horapa.com/content.php?No=1063
https://economictimes.indiatimes.com/drumstick-as-a-superfood/articleshow/16412636.cms

https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/756868/756868.pdf&title=756868&cate=413&d=0