ในปัจจุบัน หอยแครง ยังถือเป็นอาหารทะเลใครๆก็ต่างพากันชื่นชอบ ไม่ว่าจะกินเเบบลวกจิ้มหรือนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย และยังเป็นสัตว์น้ำที่มีอิทธิพลสูงในเศรษฐกิจของบ้านเราทำให้มีความต้องการทางด้านการตลาดที่สูงขึ้นไปด้วย ซึ่งบางช่วงเราจะสังเกตุเห็นได้จากราคาของหอยแครงที่สูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติและน้ำเสียจากอุตสาหกรรม ทำให้เกษตรกรที่เลี้ยงหอยแครงเสียหายเป็นอย่างมาก ถึงจะมีการเลี้ยงในบ่อดินก็ยังไม่สามารถตอบความต้องการของตลาดได้
โดยวิธีการเลี้ยงหอยแครงในประเทศไทย นิยมเลี้ยงทั้งหมด 3 วิธี คือ การเลี้ยงแบบเดิม, การเลี้ยงแบบพัฒนา และ การเลี้ยงแบบบ่อดิน
การเลี้ยงหอยแครงแบบเดิม
มักนิยมเลี้ยงในแถบอ่าวไทยตามเเนวชายฝั่งในจังหวัดเพชรบุรีและสมุทรสงคราม เป็นการทำฟาร์มหอยขนาดเล็กโดยใช้แผ่นไม้ไผ่กั้นคอกล้อมแปลงเลี้ยง ขนาดลูกหอยเริ่มต้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของลูกหอย หากเป็นลูกหอยพันธุ์พื้นเมืองของเพชรบุรี เนื่องจากหอยพันธุ์พื้นเมืองสามารถเดินได้ เพื่อให้หอยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่กองทับกัน จึงต้องตรวจความแน่นหนาและเกลี่ยลูกหอยเป็นประจำทุก 15 วันหรือทุกเดือน โดยจะใช้คราดเพื่อการเกลี่ยและรวบรวมหอยไปหว่านไว้ที่บริเวณอื่น
ส่วนสายพันธุ์มาเลเซีย จะปล่อยเลี้ยงลูกหอยขนาดเล็กกว่าพันธุ์พื้นเมือง ลูกหอยพันธุ์มาเลเซียมักไม่เคลื่อนที่ ทำให้ในตอนแรกอาจมีการกองทับกันจึงต้องใช้เรือคราดเพื่อให้มีความหนาเเน่นสม่ำเสมอทั่วพื้นที่
การเก็บลูกหอยหลังหว่านเลี้ยง จะรวบรวมเก็บโดยใช้เรือลาก และการคัดขนาดลูกหอย ลูกหอยที่ยังเล็กอยู่จะถูกปล่อยลงไปเลี้ยงใหม่ หลังจากใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1- 1 ปีครึ่งจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่สายพันธุ์พื้นเมืองจะใช้เวลานานกว่า โดยมีอายุการเลี้ยงประมาน 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี หอยที่เก็บเกี่ยวได้ทั้ง 2 โดยจะได้ผลผลิตประมาณ 2000 - 3000 กิโลกรัม/ไร่/รุ่น
การเลี้ยงหอยแครงแบบพัฒนา
มักนิยมในจังหวัดชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เป็นการเพาะเลี้ยงหอยแครงแบบธุรกิจขนาดใหญ่ โดยการเลี้ยงแบบนี้ลูกหอยจะถูกนำมาขายให้กับผู้ประกอบรายย่อย มีการปักเขตเช่นเดียวกับการเลี้ยงแบบดั้งเดิม ลูกหอยที่นำมาเลี้ยงมักจะใช้สายพันธุ์มาเลเซีย ขนาดที่นิยมใช้ในการเลี้ยงคือขนาด 2,500 ตัว / กิโลกรัม ซึ่งขนาดและอัตราหว่านเท่ากับการเลี้ยงแบบดั้งเดิม ใช้เวลาเลี้ยง 1 - 2 ปี จึงจะได้หอยขนาด 80 - 120 ตัว/กิโลกรัม ผลผลิตประมาณ 4000 - 5000 /ไร่/รุ่น
การเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน
เกิดขึ้นที่แรกที่จังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการ แต่เนื่องจากว่า ได้รับผลกระทบจากน้ำเสียที่มาจากโรงงาน ทำให้หอยแครงที่เลี้ยงในพื้นที่ดังกล่าวนั้นตายเป็นจำนวนมาก ผู้เลี้ยงหอยแครงหลายคนจึงได้นำหอยแครงที่เหลืออยู่มาทำการหว่านลงบนลานดิน ซึ่งลานดินดังกล่าวนั้นเป็นนากุ้งอยู่ด้วย จึงถือว่าเป็นการเพาะเลี้ยงหอยแครงและกุ้งแช่บ๊วยไปด้วยกัน แม้ว่าในปัจจุบันการเลี้ยงในบ่อดินถือเป็นที่นิยมของเกษตรกรส่วนใหญ่ แต่ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อตลาด เนื่องจากการเลี้ยงในบ่อดินต้องใช้เวลาเลี้ยงเป็นเวลานาน
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงหอยแครง
1.ปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอนบูม หรือ ขี้ปลาวาฬ ที่มักจะเกิดในช่วงเดือนกันยายนไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี นอกจากหอยแครงที่เลี้ยงอยู่จะเสียหายแล้ว ยังไม่สามารถเก็บลูกหอยในขณะนั้นได้และไม่มีตลาดรองรับผลผลิตในช่วงนั้น
2.ปัญหาจากการเกิดน้ำท่วม น้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงหอยแครง หากกระแสน้ำแปรปรวน หรือน้ำจืดหรือเค็มมากเกินไป ก็สามารถทำให้หอยแครงตายได้เหมือนกัน
3.ปัญหาจากน้ำเสียที่มาจากแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการขยายกิจการขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปริมาณน้ำเสียที่ถูกปล่อยลงทะเลมีมากขึ้นและกระทบอาชีพการเลี้ยงหอยแครงของชาวบ้านมาก
4.การขาดแคลนลูกหอยแครงขนาดเล็กเนื่องจากแหล่งกำเนิดหอยในประเทศไทยมีน้อย ทำให้เกษตรกรต้องไปซื้อลูกหอยมาจากต่างประเทศ แม้ว่าปัจจุบันกรมประมงจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรอยู่ดี
การเลี้ยงหอยแครงระบบปิดด้วยแพลงก์ตอนพืช
ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานวิจัยแห่งชาติ
การเลี้ยงหอยแครงระบบปิด สามารถทำตามได้ไม่ยากเนื่องจากไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน
1.ขั้นตอนแรก เริ่มจากทำการกักเก็บน้ำทะเลระดับความลึกไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร / บ่อขนาด 6 ไร่ เพื่อป้องกันอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น โดยการสร้างการหมุนเวียนของกระแสน้ำและ
2.เพิ่มออกซิเจนด้วยกังหันลมพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมกับการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืช ให้มีปริมาณมากกว่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารให้กลับหอยแครง *เน้นใช้ในช่วงการปิดบ่อเพื่อเลี่ยงน้ำเสียหรือในฤดูฝนที่น้ำมีความเค็มต่ำกว่า 21 ส่วนในพันส่วน
3.ถ้าต้องการเร่งการเจริญเติบโตของหอยแครง จะปล่อยแพลงก์ตอนพืชในอัตรา 45000 /บ่อ/6 ไร่ ในทุก 3 วัน หรือ หากต้องการให้มีการเจริญเติบโตตามปกติ จะปล่อยแพลงก์ตอนพืช ทุก 9 วัน สลับช่วงกันไปเพื่อให้หอยแครงได้รับอาหารตามธรรมชาติอีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานวิจัยแห่งชาติ
ในปัจจุบันมีการพัฒนาการระบบการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินให้เป็นบ่อเลี้ยงหอยแครงระบบปิดแบบพัฒนาด้วยการผลิตแพลงก์ตอนพืช (สาหร่ายเซลล์เดียว)
ดร.ไพรฑูรย์ มงกงไผ่ อาจารย์คณะวิจัยแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีการศึกษาวิจัยและดำเนินการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร และยังได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงอุดมการศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อช่วยเกษตรกรลดผลกระทบจากปัญหาสภาพปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมหรือน้ำเสียได้สำเร็จ
ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานวิจัยแห่งชาติ
ซึ่งวิธีการเลี้ยงหอยแครงระบบปิดนี้ทำให้ได้ผลรับได้ดีกว่าเลี้ยงหอยในบ่อดินแบบเดิมและหอยแครงมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แบบ รสชาติอร่อย ขนาดตัวใหญ่ตามความต้องการของตลาดจึงขายได้ราคาดี ช่วยส่งเสริมให้อาชีพการเลี้ยงหอยมีความมั่นคงและสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพให้แก่ผู้บริโภค และถือเป็นการพัฒนาอาชีพ คุณภาพให้กับชุมชน เพื่อทำให้ชุมชน เป็นชุมชนที่เข้มเเข็งและยั่งยืน และสร้างฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงอีกด้วย