

"วิเชียร ทับทิม : ปลูกเผือกหอม อาชีพเสริม รายได้สวย"

ปัญหาอันน้อยนิดอาจยิ่งใหญ่เกินแก้ไข
ฉะนั้นเมื่อเห็นอะไรที่เป็นปัญหา
แม้เพียงน้อยนิดก็ต้องแก้ไขทันที
ไม่ต้องรีรอ

คุณวิเชียร ทับทิม เกษตรกรผู้ปลูกเผือกเสริมเป็นพืชหลังนา แต่รายได้คุ้ม
ชีวิตที่สุขสบายในวันนี้ของคุณวิเชียร เกิดจากการไม่รั้งรอโอกาส เมื่อทำนาอยู่แล้วประสบปัญหา ก็หาทางแก้ปัญหาทันที เมื่อมีคนชวนให้ไปดูการทำเผือก เมื่อเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ ก็ทำเลยไม่รั้งรอ และระหว่างทำก็ค่อยๆ ศึกษา ทำและแก้ปัญหาไป จนการทำนา และการทำเผือกอยู่ตัว สามารถเลี้ยงชีวิตเขาได้เป็นอย่างดี ชีวิตวันนี้ถึงขั้นสุขสบาย มีเงินทองใช้ และมีเงินออม นอกจากนั้น คุณวิเชียรยังเปิดให้ที่สวนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกเผือกด้วย ใครอยากได้ความรู้สามารถมาเยี่ยมชมได้ คุณวิเชียรยินดีให้ความรู้เป็นวิทยาทานแก่ทุกคนที่สนใจ
หลักคิดการใช้ชีวิตของคุณวิเชียร
การทำงานของคุณวิเชียรนั้น ใช้วิธีค่อย ๆ ทำ ลองผิดลองถูกกับมันไป ถามคนอื่นบ้าง แต่ใช้วิธีเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่การทำแบบนี้อาจทำให้ประสบผลสำเร็จช้า และต้องศึกษาด้วยตัวเองเรื่อย ๆ คุณวิเชียรได้เรียนรู้ว่า วิธีการทำให้หัวใหญ่มีอยู่อย่างเดียวคือทุนถึงและใจถึง เวลาถึงหรือถึงเวลา ไม่ใช่เพียงเงินถึงอย่างเดียว เช่น ถึงเวลา ถ้าเผือกเรายังเขียวอยู่ เรามี 15 วันหรือ 20 วัน มันจะเริ่มจางลง ก็ต้องรีบเอาปุ๋ยมาใส่เพื่อไม่ให้มันหมดงาม เป็นต้น แปลว่าดูเวลาที่เหมาะสมด้วย
นอกจากนั้น ในการทำงานต้องไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เห็นอะไรที่เป็นปัญหาต้องแก้ทันที ไม่งั้นปัญหาเพียงเล็กน้อย จะขยายจนอาจลุกลามไม่สามารถแก้ได้ก็เป็นได้ เช่น วันนี้จะฆ่าหญ้า ก็ต้องวันนี้อย่าไปละเป็นวันอื่น เพราะถ้าตั้งใจไว้แล้ว แปลว่าเวลาเรามี ถ้าเลื่อนไป อาจไม่ได้ทำก็ได้ หรือ หากเราเดินไปเห็นหญ้าต้นหนึ่ง เช่น เห็นผักแว่นอยู่กอเดียว เราเดินผ่านไป ไม่ถอน ไม่กำจัด ผลัดเอาไว้เช้าวันถัดไป ในความเป็นจริงผักแว่นเป็นตัวปัญหามาก มันจะขยายได้เร็วมาก ถ้าเราเห็นก็ควรกำจัดเลย อย่าปล่อยไปทำวันอื่น เพราะผักแว่นจะไปแย่งปุ๋ย แย่งยากิน สร้างปัญหาให้มาก หรือการปรับปรุงดิน เมื่อเราปลูกพืชซ้ำๆ ก็ต้องปรับปรุงดิน ถ้าไม่ทำ ผลผลิตในช่วงเวลาถัดไปก็ไม่ได้คุณภาพ ต้องไม่ลืม ต้องไม่ผลัดวัน ต้องซื้อถั่วหรือปอเทืองมาใส่ปุ๋ย มาปรับปรุงดิน
และสำหรับใครก็ตามที่อยากกลับบ้านมาทำการเกษตร และมาทำเผือกนี่ ขอให้หาตลาดไว้ก่อน ไม่ใช่อยากทำก็ทำเลย สำคัญที่สุดคือการตลาด ไม่งั้นจะขาดทุนได้ และเมื่อทำก็ต้องอดทน เพราะกว่าผลผลิตออก ต้องใช้เวลา ถ้าเราทำประสบผลสำเร็จ เช่น ปีนี้ทำไป 1 ไร่ 1 ไร่นี่ เราลงทุนไปแล้วประมาณ 30,000 บาท แต่ถ้าาขุดเผือก 1 ไร่ขาย ได้เงินสดๆ 30,000 บาท เราได้ทุนคืนและยังมีกำไร กำไรตรงที่มีลูกที่จะขยายพันธุ์ต่อไป ที่นี้ปีต่อไปก็ไม่ต้องซื้อลูกแล้ว ทุนอย่างเก่งก็ไม่เกิน12,000 ถึง 15,000 ต่อไร่ ต้นทุนจะถูกลง
ทำเผือกต้องหาตลาดก่อน รองรับผลผลิต
ก่อนที่จะมาปลูกเผือกขาย คุณวิเชียร ทับทิม ทำนามาก่อน แต่เพราะทำนาอย่างเดียว จึงทำให้ชักหน้าไม่ถึงหลัง พอดีมีเพื่อนบ้านเอาเผือกมาทำ พันธุ์พิจิตร 01 ก็ไปดูเขา เขาบอกว่ารายได้ดี ปลูก 2 งาน ได้เงิน 30,000 ถึง 40,000 บาท ก็เลยลองไปหาซื้อเผือกมา 70 กิโลกรัม ลองมาทำในพื้นที่ 2 งาน พอขุดมาขายครั้งแรกเลยได้ 2,000 ถึง 9,000 บาท ก็ถือว่าพอได้ ก็เลยลองทำต่อ พอปีที่สอง 2 งานได้ 30,000 เกือบ 40,000 บาท ก็รู้สึกว่านี่น่าจะเป็นอาชีพที่ดีเพราะว่าสามารถทำควบคู่กับการทำนาได้ ปกติประมาณพฤษภาหรือมิถุนา คุณวิเชียรจะหว่านข้าว พอหว่านข้าวเสร็จมีน้ำก็ทำนาแล้วก็ไปเก็บเกี่ยว เสร็จค่าเกี่ยวข้าวจ่ายทุกอย่างเสร็จ ก็จะได้เก็บเกี่ยวเผือกควบคู่กันไป ทุนที่นำมาทำนา 50 ไร่ทำเผือกเจ็ดไร่ ยืม ธกส. มา 150,000 บาท มาใช้ทั้งทำทั้งเผือกทั้งทำนา รวมทั้งใช้ในชีวิตประจำวัน พอเกี่ยวข้าวเสร็จ เอาค่าเกี่ยวข้าวไปจ่ายค่ารถเกี่ยวข้าว ค่าปุ๋ย ก็หมดแล้ว เบ็ดเสร็จใน 150,000 บาท ส่วนเงินจากการขายเผือกจะเก็บไว้ใช้ เก็บไว้ออม เลยถือเป็นอาชีพเสริมที่รายได้ดีที่สุด และโชคดีที่เผือกขายได้แทบทุกส่วน ไม่ว่าจะต้น หรือลูก
ก็ดูแลเรื่อยมา พอถึงฤดูการขุดหัวมันจากเคยได้ 1.2 กิโล - 1.3 กิโล หรือ 8 ขีด แต่คราวนี้ได้ถึง 2 กิโลกว่า ๆ จึงยึดเผือกพันธุ์เชียงใหม่ตั้งแต่นั้นมา
อีกเหตุผลหนึ่งที่คุณวิเชียรเลิกปลูกพันธุ์เดิมเพราะว่าเผือกที่ปลูกพันธุ์ซ้ำๆ ติดต่อกันในที่เดิม มันจะกลายพันธุ์เป็นไส้ขาว มันไม่มีกลิ่นหอม ตลาดไม่ต้องการ เขาต้องการไส้ม่วง คือ ลายจุดม่วง รากจะเป็นลายจุดม่วง ซึ่งพันธุ์เชียงใหม่มีตรงนี้ ลูกของพันธุ์เชียงใหม่จะใหญ่ สวย ขายลูกต้มได้ ไม่เหมือนพันธุ์พิจิตร01 ซึ่งลูกจะเล็ก นำไปต้มลูกค้าไม่ซื้อ
นอกจากขายลูก แล้วคุณวิเชียรยังขายต้นได้อีก เป็นการเพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่ง มีพ่อค้าที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาสั่งไปตันละ 3,000 บาท นำไปตัดยาวประมาณฟุตหนึ่ง ลอกเปลือกตากแห้ง คนไทยไม่ได้กิน เพราะส่งออกให้ไต้หวัน ให้จีน ตัวก้าน เขาเอาไปต้มใส่กระดูกหมูทำน้ำซุป เคยเอาลอกจิ้มน้ำพริกกิน ก็อร่อยรสชาติเหมือนบอนแต่กลิ่นหอมกว่า บอนจะคันกว่า ส่วนใบทิ้งอย่างเดียว ใบพอโดนแดดหน่อยก็แห้งกรอบ ก็ตัดทิ้งไว้ในสวน พอเจ็ดวันมันก็ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย เป็นการปรับสภาพดินไปในตัว
การดูแลเผือกของคุณวิเชียรใช้เพียงยาฆ่าหนอน ยาฆ่าเพลี้ย ศัตรูพืชมีแค่เพลี้ย หนอน แล้วก็เชื้อรา ในใบแบบนี้ ขึ้นอยู่กับน้ำค้างและฝน ศัตรูพืชจะไม่มาก แต่หญ้าข้างล่างนี่พอดำแล้วมันจะขึ้นมาใหม่ ก็ใช้ยาฆ่าในป่าถั่วเหลือง แล้วก็มาใช้ที่นี่ได้ ถ้าถอน ค่าแรงก็ตกประมาณ 600 บาท แต่ถ้าเราฉีดแล้วเราซื้อยามา 600 บาท ฉีดไปสองครั้ง ก็เหลือ ก็สามารถไปฉีดแปลงอื่นได้ คือต้นทุนเคมีตัวนี้มันจะถูกกว่าค่าจ้างคนงาน คุณวิเชียรจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์บวกเข้าไปกับชีวภาพมาผสมมาคลุกแล้วหว่านปรับสภาพดิน แล้วจึงฆ่าเชื้อราในดิน
ทางด้านการตลาด จะมีพ่อค้ามาหาซื้อ หรือว่าทางคุณวิเชียรโทรไปหา แล้วพ่อค้าก็จะมาดูเผือก มาตกลงราคา เขาจะมาขุดเอง ใส่ถุงเอง ค่าแรง 6 สลึงต่อกิโลกรัม โดยสวนใหญ่ส่งไปขายที่ตลาดไท แต่บางปีไปถึงประเทศมาเลเซีย แล้วแต่ช่วงที่จะหาพ่อค้าได้แบบไหน แต่ถ้าไปส่งเขาก็มี ประเภทแผงแม่ค้า แผงขายผัก ขายพืชเกษตรตรงนี้ เขาก็จะรับวันละ 10 - 20 ถุง คุณวิเชียรก็จะขุดไปส่งแม่ค้าในเมือง แต่ถ้ามีไร่หนึ่งขึ้นไปก็จะขายพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าที่รายใหญ่หน่อยเขาจะมาเอาวันหนึ่ง 14 - 15 ตัน คุณวิเชียรเคยขุดให้ในบางครั้ง 14 ตันคืนเดียว คือตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึงตี 4 รถออกจากสวนไปตลาดไท สำหรับคุณวิเชียรแล้ว พ่อค้าหาไม่ยาก
จากพันธุ์พิจิตร 01 เปลี่ยนมาเป็น พันธุ์เชียงใหม่ โตเร็ว โรคน้อยลง
คุณวิเชียร ทับทิม
63 หมู่ 3 ต.สายคำโห้ อ.เมือง จ.พิจิตร 66000


