

"ประไพ หมายสุข : สาวโรงงานกับการผันตัวเป็นปราญช์เกษตร"

ถือเป็นมรดกล้ำค่า หากรู้หลักในการจัดการ

จากอดีตสาวโรงงาน สู่การทำเกษตรแบบเต็มตัว
ประไพ หมายสุข คนโคราชโดยกำเนิด สายเลือดเกษตรกรแท้ที่ถูกซึมซับและถ่ายทอดมาตั้งแต่เด็กๆ แต่กับมีความฝันที่อยากเปลี่ยนเส้นทางชีวิตโดยบอกกับตัวเองว่า “หากฉันจบม. 6 ฉันจะเข้าเมืองไปทำงานโรงงาน และจะไม่กลับมาเหยียบทีนี่อีกเลย” นี่คือความคิดในวัยเด็ก แต่สุดท้ายแล้วนั้นก็หนีไม่พ้นรากเหง้า ทำให้ต้องกลับมาทำเกษตรอีกเช่นเคย ตอนแรกที่กลับไปทำเกษตรนั้นยังคงไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ทุกวันนี้บอกได้เลยว่ามันเกินคำว่าร้อย ทั้งหมดที่ทำอยู่ทุกวันนี้มันคือการทำด้วยใจ ใช้ใจทำ ถึงแม้จะเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ แต่สุดท้ายก็พบกับคำว่าประสบความสำเร็จ อีกทั้งตอนนี้ยังช่วยเผยแพร่การทำเกษตรในแบบฉบับของตนเองให้แก่คนในหมู่บ้านและในอำเภอให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ประไพ หมายสุข ผู้ที่เคยใช้ชีวิตตามสมัยนิยม ในเมื่อต้องการที่จะใช้ชีวิตในเมือง ก็ต้องทำตัวให้เข้ากับสมัยนิยม ทำงานได้เงินมามีเงินเท่าไหร่ ก็ใช้แบบไม่คิด แบบที่ว่าคนอื่นมี เราก็ต้องมี จนทำให้เหตุการณ์ในชีวิตพลิกผัน พี่ประไพและครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยขึ้น สาเหตุของการเจ็บป่วยคือสารเคมีที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ และอาหารที่บริโภคเข้าไป จนทำให้ร่างกายเกิดเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ในตอนนั้น พี่ประไพ เล่าว่าแม้กระทั่งโรงพยาบาลยังเลือก โดยจะเลือกโรงพยาบาลที่แพงหน่อย มีชื่อเสียงเพราะคิดว่าตัวเองจะได้รับการรักษาที่ดี ต่อมาการรักษาดูเหมือนจะไม่เป็นผล เพราะรักษาอย่างไรอาการที่เป็นอยู่ก็ไม่ดีขึ้น เงินจากที่มีอยู่นั้นก็เริ่มหดหาย จึงต้องกลับมาอยู่บ้านที่ต่างอำเภอ หลังจากนั้นชีวิตในเมืองก็จบสิ้นลง หลังจากกลับมารักษาตัวที่บ้าน พี่ประไพ และครอบครัวมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ มีแต่ธรรมชาติรายล้อม มองไปทางไหนก็เจอต้นไม้ ใบหญ้าเขียวขจี จนพี่ประไพได้มารู้จักการรักษาโดยนำธรรมชาติเข้ามาบำบัด เหตุนี้เองจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้พี่ประไพหันกลับมาทำเกษตรอีกครั้ง
ในปีพ.ศ. 2545 คุณประไพได้เริ่มหันมาทำการเกษตรอีกครั้ง เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน ในช่วงแรกๆ ที่กลับมาทำเกษตร ก็ยังมีการใช้สารเคมีอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน คุณประไพก็มองเห็นความสำคัญของการใช้สารอินทรีย์ และนำอินทรีย์เข้ามาช่วยในการทำเกษตร ซึ่งในพื้นที่ที่มีอยู่พี่ประไพก็ได้จัดสรรให้เป็นสัดเป็นส่วนเพื่อใช้ในการทำเกษตร เน้นการปลูกพืชผักสวนครัว และสมุนไพร ซึ่งที่เลือกปลูกสมุนไพรด้วยนั้นก็เพราะ
เกษตรกรตามรอยพ่อ ดูแลเอาใจมะละกอ
มีจุดประสงค์คือ เพื่อนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพและร่างกายของตนเองและครอบครัว ในพื้นที่บางส่วนอาจมีความเสื่อมโทรมบ้าง ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น ผลมาจากการใช้สารเคมีที่เคยฉีด ยิ่งยาฆ่าหญ้าจะทำให้ดินเสื่อมสภาพลงได้ง่ายและเป็นอันตรายต่อคนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการใช้ยาฆ่าหญ้าทำให้หญ้าฆ่าแมลงดูดซึมลงไปในดิน เมื่อพืชดูดสารอาหารในดินไปเลี้ยงลำต้น ทำให้ยาฆ่าหญ้าถูกดูดซึมอยู่กับพืชเหล่านั้นด้วย และคนรับประทานเข้าไปก็จะได้รับสารพิษเข้าไปด้วย ทำให้พี่ประไพต้องปรับสภาพพื้นที่ตรงนั้น เรียนรู้และศึกษาระบบนิเวศไปในตัว เมื่อเข้าใจธรรมชาติและระบบนิเวศมากยิ่งขึ้น สิ่งแรกที่พี่ประไพทำการปลูกคือ การปลูก “มะละกอ” บนคันนา ซึ่งการปลูกมะละกอบนคันนานั้น คงรู้กันอยู่แล้วว่า ส่วนมากบนคันนาไม่มีใครนิยมปลูกพืช แต่มันคือจุดเริ่มต้นของพี่ประไพ พี่ประไพได้ให้เหตุผลว่า เห็นคันนาเป็นที่วางไม่รู้จะทำอะไรดีเลยนึกอยากลองปลูก พอนำต้นมะละกอลงปลูก เมื่อต้นมะละกอมีขนาด 1 ฟุต ก็จะนำเอาฟางมาใส่ที่รอบๆโคนต้น เพื่อบำรุงต้นมะละกอ และเป็นธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงนาข้าวได้อีกด้วย เรียกได้ว่า 2 in 1 มะละกอที่นำไปปลูกจะใช้พันธ์แขกดำ และพันธุ์ฮอนแลนด์ นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืช 3 ระดับร่วมด้วยซึ่ง 3 ระดับที่ว่านี้ คือจะแบ่งออกเป็น พืชระดับต้นไม้ใหญ่ เช่น จำพวกกล้วยและมะละกอพันธุ์ต่างๆ
จากที่ได้ทำการศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรมาได้สักระยะ พี่ประไพก็นำเอาประสบการณ์ที่ตนเองพบเจอ นำมาถ่ายทอดให้กับคนในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรพื้นที่ในการทำเกษตร ฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงการปลูกพืช 3 ระดับ แบบพึ่งพากัน ที่เป็นประโยชน์แก่คนในหมู่บ้านและชุมชนเป็นอย่างมากในการทำเกษตร รวมถึงการรักษาโรค ที่พี่ประไพนำเอาสมุนไพรใกล้ตัวมารักษา บำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ และยังสอนและบอกกล่าวเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังนำที่ดินมอบถวายให้กับวัด จุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ปฎิบัติธรรม และศึกษาธรรมตามแนวปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกียรติประวัติและผลงาน
-หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านดง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
-หัวหน้ากลุ่มเรียนรู้ 30 ครัวเรือนต้นแบบ ของหมู่บ้านดง
-เป็นวิทยากรประจำอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน
-ได้รับรา
ที่สุดของความภาคภูมิใจ



