เกษตรกรต้นแบบ

"เกรียงไกร ไทยอ่อน : ไผ่หวานหนองโดนเศรษฐกิจเงินล้าน"

 13 กรกฏาคม 2559 13,672
จ.หนองบัวลำภู
ถ้าไม่ได้ดีอย่างใครเขา
จะไม่กลับภูมิลำเนา ให้เขาหยัน

ความสำเร็จนำไปสู่ความมั่นคงในชีวิต

ถ้าเอ่ยถึงเรื่องไผ่ จะลืมไม่ได้เลยคือ พ่อเกรียงไกร ปราชญ์เกษตรกรวัย 53 ปี จ.หนองบัาลำภู คงไม่มีใครในวงการไผ่ที่ไม่รู้จักคุณเกรียงไกร ผู้เชี่ยวชาญปลูกไผ่หวานหนองโดน เป็นไผ่ที่เจริญเติบโตได้ดี ลักษณะ หน่ออวบปล้องสั้น มีขนเล็กน้อยที่ปลายยอดเปลือกค่อนข้างหนาและแข็งทนทานต่อการส่งในระยะไกลๆ อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของไผ่หวานหนองโดนนั่นคือนำมาทำเป็นส้มตำหน่อไผ่รสชาติหวานกรอบ พ่อเกรียงไกร เจ้าของสวนไผ่หวานหนองโดน กล่าวเพิ่มเติมว่าหลังจากได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับไผ่ มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี มีการเผยแพร่ข้อมูล จนเกิดการตื่นตัวในวงการเกษตร และสร้างอาชีพใหม่ให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของไผ่ โดยส่วนตัวแล้ว ณ เวลานั้นคิดว่าไผ่ชนิดนี้น่าจะมีอยู่ที่บ้านเกิดของตนที่เดียว จึงได้ตั้งชื่อตามชื่อหมู่บ้านเพื่อเป็นเกียรติ และมีแนวคิดว่าจะนำมาปลูกขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเหตุผลหลักที่ทำให้เกษตรกรหลายรายเข้ามาดูการปลูกไผ่ในสวนของตนนั้นเนื่องจากการปลูกไผ่เป็นพืชที่ลงทุนครั้งเดียว ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้สารเคมี การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก เพียงรดน้ำใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกก็สามารถทำให้ไผ่ออกหน่อและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้มาก

หลักคิดในการใช้ชีวิต

นายเกรียงไกร ไทยอ่อน เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ 2506 เป็นคนจังหวัดหนองบัวลำภูโดยกำเนิดเป็นลูกชาวนา บิดาชื่อ นายคำตา ไทยอ่อน มารดาชื่อ นางบุญเรียง ไทยอ่อน มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คนเป็นชายทั้งหมด โดยนายเกรียงไกร เป็นบุตรคนที่ 1 ของครอบครัว และได้สมรสกับนางสาวศรีนวล เมนขุน มีบุตรด้วยกัน 2 คนเป็นหญิงทั้งหมด จึงได้มีโอกาสเรียนหนังสือจบจากวิทยาลัยเทคโนโลยี วิทยาเขตเกษตรกาฬสินธุ์ ปี 2530 ด้วยครอบครัวยากจน และมีน้องชายอีก 3 คน ที่ต้องเป็นภาระเรื่องการศึกษาของคุณพ่อคุณแม่ต่อจากตน นายเกรียงไกรจึงต้องเดินทางเพื่อตามล่าหาความฝันที่กรุงเทพฯ และด้วยความที่ตนป็นคนมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง จึงไม่ได้ไปสมัครงานที่ใดแต่ได้ร่วมงานกับ นายพยับ ยังปักษี และเพื่อนร่วมงานอีกจำนวน 8 คน ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ เมืองเกษตร และที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทั้งในและต่างประเทศ ฉบับแรกของประเทศไทย ต่อมาเปลี่ยนมาออกเป็น “นิตยสารเมืองเกษตร” รายเดือนแทน จนกระทั่งปัจจุบันหลังจากหนังสือพิมพ์เมืองเกษตรตีพิมพ์ได้ ๒ ฉบับ พบว่า ตัวเองน่าจะมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตการทำงานมากกว่านี้ จึงได้นำผลงานและแนวความคิดเดินทางไปพบกับ นายประชา เหตระกูล เจ้าของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และผู้บริหารระดับสูง ที่สำนักงานใหญ่สี่พระยา เพื่อนำเสนอให้หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ทำให้ต่อมาหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับให้ความสำคัญในระดับนโยบาย ต้องนำเสนอข่าวเกษตร ในหลากหลายมติ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการสืบค้น สามารถนำเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองไปบูรณาการในการประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จ ในด้านการศึกษา ได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชา เกษตรศาสตร์และสหกรณ์ แต่ด้วยภาระ-หน้าที่ ที่ต้องช่วยคุณพ่อ-คุณแม่ ส่งเสียดูแลน้องๆ ประกอบกับงานที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับข่าว-สารคดี-บทความ เป็นจำนวนมาก และบริหารงานสำนักพิมพ์ของตัวเองไปพร้อมๆกันด้วย จึงเกินกำลังของเด็กอายุ 25ปี ทำให้ไม่มีเวลาในการเล่าเรียนเท่าใดนัก ที่สุดตัดสินใจหยุดการเรียน และตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ ด้วยความขยัน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ จึงประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
เมื่อปลายปี 2551 ได้กลับมาเยี่ยมคุณพ่อ-คุณแม่ ที่บ้านหนองโดน ต.กุดดู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู มีโอกาสได้ร่วมพบปะพูดคุยกับผู้นำชุมชน ทำให้ทราบว่าสภาพของชาวบ้านในชุมชน ขาดโอกาส ขาดการพัฒนา เข้าไม่ถึงแหล่งทุน ติดการพนันอย่างงอมแงม เป็นหนี้จนล้นพ้นตัว จึงมีความคิดอยากมาร่วมด้วยช่วยกันให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้ และอีกอย่างหนึ่งจะได้มีเวลาดูแลสวนไผ่หวานหนองโดนอย่างเต็มที่ หลังปรึกษากับครอบครัว จึงได้ย้ายทะเบียนบ้านกลับมาอยู่ที่บ้านหนองโดน เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ได้นำเอาความรู้ที่ตนมีมาปฏิบัติจริงและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกไผ่ เพราะที่บ้านของนายเกรียงไกรนั้นมีสวนไผ่อยู่แล้วแต่ไม่เยอะเท่าไร ต่อมาจึงทำให้ทราบว่า ไผ่ที่ตนค้นพบนั้น มีปลูกอยู่แล้วทางจังหวัดเลย ซึ่งหากไม่สังเกตโดยละเอียดจะแยกไม่ออก ก็ได้ข้อสรุปว่า เป็นไผ่หวานเหมือนกัน แต่น่าจะเป็นคนละสายพันธุ์ และอาชีพปลูกไผ่นั้น ยังไม่ได้รับความนิยมในเชิงการค้า เนื่องจากไผ่เกิดการตายขุย ต่อมาหลังจากปลูกได้ประมาณ 5 ปี คุณเกรียงไกร ก็เปิดตัวตามสื่อต่างๆทั้งทีวี และนิตรสารเกษตร รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ปรากฎว่าได้รับความสนใจอย่างมาก และนั่นทำให้เกษตรกรหลายรายมองเห็นว่า ไผ่สามารถยืดมาเป็นอาชีพได้ เพียงต้องทำอย่างมีระบบต้องมีความขยันอดทน และรักในสิ่งที่ตนทำ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงภูมิปัญญาของตนถึงแม้เหนื่อยบ้างล้มบ้างก็ต้องสู้ให้ถึงที่สุดของชีวิตเกษตรกรอย่างล้ำค่า

อาชีพการปลูกไผ่เป็นอาชีพ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆไม่เพียงเฉพาะไผ่หวานหนองโดนเท่านั้นไผ่อื่นๆก็ได้รับความนิยมไปด้วย เช่น ไผ่เลี้ยงหวานสีทอง ไผ่ไต้หวัน ไผ่กิมซุ่ง ไผ่ตงลืมแล้ง สาวนไผ่หวานหนองโดนของนายเกรียงไกร แม้ว่าจะขยายพื้นที่ปลูกไผ่เพิ่มขึ้นอีกหลายสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ไผ่หวานหนองโดน ก็ยังคงเป็นพระเอกอยู่ ปัจจุบันนี้ไผ่หวานหนองโดนจึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐกิจเงินล้าน

ไผ่หวานหนองโดนเศรษฐกิจเงินล้าน

ประวัติและความเป็นมาเกี่ยวกับตัวเกษตรกร

ตลอดชีวิตของนายเกรียงไกร จะคลุกคลีอยู่กับสวนไผ่หวานมาโดยตลอดและการลงมือปฏิบัติจริงมากว่า 10 ปี ได้เปิดเผยว่า ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ ตัวแปรสำคัญคือ การตัดแต่งกิ่งคือหัวใจสำคัญของการทำสวนไผ่ หากปล่อยให้มีกิ่งและแขนงหรือลำมากเกินไป จะทำให้การออกหน่อน้อยลง ไผ่แต่ละชนิดการแต่งกิ่งและไว้ลำก็จะแตกต่างกันไป เช่นไผ่เลี้ยงประมาณ 7-8 ลำประเภทไผ่กินหน่อไว้ลำประมาณไม่เกิน 5 ลำ ไม่ควรต่ำกว่า 4 ลำไผ่ซางอยู่ที่ประมาณ 8-10 ลำ และไผ่หวานหนองโดนอยู่ที่ 6-8 ลำเป็นต้น

นายเกรียงไกรได้ให้แง่คิดว่า ถึงแม้ไผ่จะปลูกเลี้ยงง่ายก็ตาม แต่ถ้าขาดการเอาใจใส่ดูแลและไม่มีความขยันอดทนย่อมอาจทำให้พบกับคำว่าล้มเหลวได้เช่นกัน สำหรับไผ่หวานหนองโดนสามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีการตอน เพาะเมล็ดและการแยกเหเง้า โดยทั่วไป ฤดูกาลที่เหมาะในการเพาะปลูกคือ ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งจะตรงกับต้นฤดูฝนไปตลอดจนถึงปลายฝน

ความขยันและอดทนย่อมนำมาสู่ความสำเร็จ

เกียรติประวัติและผลงาน

อาชีพปลูกไผ่ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ขณะที่บทบาททางวิชาการ เกี่ยวกับไผ่ทั้งหมด รวมถึงสารคดีทางโทรทัศน์ กลายเป็นแหล่งความรู้ที่เกษตรกร ใช้เป็นคู่มือในการปลูก การดูแลและการรักษา ซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จในด้านการปลูกไผ่ในหลายๆด้านนอกจากนี้นายเกรียงไกรยังได้รับรางวัลและความภาคภูมิใจดังนี้
1.เข้ารับพระราชทานรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระองค์โสมฯ(เกษตรกรผู้ประสบผลสำเร็จในการปลูกสร้างสวนไผ่เป็นอาชีพ) ปี 2552
2.ผู้ค้นพบไผ่พันธุ์ใหม่และจดทะเบียนพืชพันธุ์ใหม่ชื่อ ไผ่หวานหนองโดน หรือไผ่หวานหนองบัวลำภู เจ้าของสวนไผ่หวานหนองโดน ปี 2554
3.ที่ปรึกษาผูตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(โครงการปลูกไผ่แก้จนลดปัญหาการปลูกไร่เลื่อนลอย ใน 4 ภาคจังหวัดเหนือ ปี 2554
4.ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากฯพณฯอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรรี ในงานเกษตรแฟร์นทรีอีสาน ครั้งที่ 7 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ความสำเร็จดั่งที่เห็นและความภาคภูมิใจของความสำเร็จ

เรื่อง/ภาพโดย: ปาริฉัตร โพพันเรือ จนท.ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.ขอนแก่น