

"สมโภชน์ ทับเจริญ : ปลูกข้าวมากคุณค่า จากนากลางกรุง"

ความสุขมาจากการ ให้

พื้นที่ปลูกข้าวของอาจารย์สมโภชน์แบ่งไว้ 3 ไร่ ทำไว้กินและเหลือขายบ้างเล็กน้อย ไม่ปลูกพร้อม ๆ กัน เพื่อให้คนมาเที่ยวชมแปลงข้าว ได้เห็นทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว ตั้งแต่ ปักดำ ตั้งท้อง เก็บเกี่ยว มีคนถามกันมากว่า ที่ดินมีราคาสูงแล้วนำมาทำนาข้าวคุ้มกันหรือไม่ อาจารย์บอกว่า อย่างแรกคุ้มต่อสภาพจิตใจ อย่าไปคิดว่าทุกอย่างต้องเป็นเงิน ที่นาของอาจารย์ตอนนี้ ไร่ละ 16-20 ล้าน ในขณะที่อาจารย์ทำนาได้เดือนละหลักหมื่น แต่อาจารย์ก็สุขใจ เพราะมีความสุขกับการทำให้คนอื่นมีความสุข คนมาเที่ยวสบายใจ กินอาหารอร่อย สุขภาพดี แค่นี้อาจารย์ก็ดีใจแล้ว ส่วนที่ดินก็ยังเป็นของเรา ราคาขึ้นทุกปี ปีละ 500,000 บาทต่อไร่ ก็คิดว่าเป็นดอกดินที่บานออก ที่ไม่ต้องทำอะไรมันก็ขึ้นเองทุกปี แต่เราใช้เงินหลักหมื่น ก็ไม่ได้เป็นอะไร
จากการที่อาจารย์สมโภชน์หันมาทำอาชีพเกษตรกรรมอย่างจริงจัง และบอกว่าการทำเกษตรของตนนั้น เน้นที่เกษตรเพื่อชีวิต ไม่ใช่เกษตรเพื่อความตาย ผลไม้ พืชผักต่างๆในสวนนี้ จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมี แต่ก็บอกอีกว่าพื้นที่ของตนไม่ใช่เป็นการทำเกษตรอินทรีย์ เพราะยังใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกัน แต่ใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
ปัจจุบัน คุณสมโภชน์ แบ่งพื้นที่ปลูกข้าวไว้ 3 ไร่ เพื่อไว้กินและจำหน่าย โดยจะไม่ปลูกพร้อม ๆ กันทั้ง 3 ไร่ เพื่อให้ผู้คนที่สนใจ ได้เห็นทุกระยะของการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่ระยะการปักดำ ระยะการตั้งท้อง และระยะการเก็บเกี่ยว โดยมีระยะเวลาในการปลูก 120 วัน หรือ 4 เดือน มีต้นทุนในการทำนาต่อ 1 ไร่ ประมาณ 4 - 5 พันบาท จะได้ผลผลิต 500 กิโลกรัม ข้าวที่ได้มาจะแบ่งไว้กินเองจำนวน 50 กิโลกรัม แบ่งไว้ทำพันธุ์จำนวน 50 กิโลกรัม และส่วนที่เหลือจะนำไปจำหน่าย ที่ร้าน “@บางขวด” ในราคากิโลกรัมละ 90 บาท
เห็นความลงตัวของอาจารย์แบบนี้ ถ้าใครคิดว่าอยากมีชีวิตบั้นปลายแบบนี้บ้าง อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ถ้าเกษียณแล้วจะออกไปทำ ไม่ต้องรอให้ถึงอายุ 60 ปี ประมาณสัก 50 ปีก็ควรลาออกไปเลย อย่างน้อยที่สุดต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการที่เราจะไปต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะถึงวันที่มันสำเร็จ เพราะออกตอนอายุ 60 ปีนั้น อย่างเดียวที่เราทำได้คือ เตรียมขับรถไปโรงพยาบาล ไม่มีเวลามาทำแล้ว ต้องมีเวลา อย่างน้อยคุณต้องเผื่อให้มันไว้สัก 10 ปี
ส่วนเด็กรุ่นใหม่ แนะนำให้เข้ามาคุยกัน แล้วจะบอกว่าจะกลับไปทำเองมีทุนแล้วหรือยัง มีทุนสำรองเท่าไร ไม่ใช่ทำการเกษตรไม่มีเงินนะ เพราะทำการเกษตรมันจะต้องลงทุน เริ่มต้นคุณจะต้องลงทุนเยอะก่อนที่จะได้ผลผลิตออกมา คุณปลูกมะม่วงกว่ามะม่วงจะออกลูกให้กิน มันใช้เวลาตั้งสองปี ในสองปีนี้ถ้าคุณปลูกมะม่วงอย่างเดียวคุณจะกินอะไร เพราะฉะนั้นต้องมีทุนสำรอง คำว่าสำรองหมายความว่าสำรองของสำรอง คือขยักไว้สองหน ขยักไว้ทีแรกนี้คือที่คุณวางแผนไว้ทำ เท่านั้นยังไม่พอ ยังต้องมีสำรองอีกก้อนหนึ่ง เป็นสำรองของสำรอง ก็คือถ้าคุณเลิกกิจการ คุณก็ไปนอนกินตรงนั้นซะ แล้วก็ปล่อยให้ตรงนี้มันเริ่มมีรายได้แล้วค่อยกลับมาทำต่อ เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ออฟฟิศมองคนอื่นเขาทำสำเร็จ เขาจะพูดให้คุณฟังเฉพาะสิ่งที่เขาทำสำเร็จ แต่เขาไม่เคยบอกคุณว่า ก่อนที่เขาจะสำเร็จเขามีปัญหาอะไร ไม่ได้เล่าว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้เขาต้องต่อสู้กับปัญหาเท่าไร ใน 100 ครั้งนี้เขาต้องสูญเสียจากการที่เขาทำผิดไปประมาณ 99 ครั้ง หนึ่งครั้งที่คุณได้เห็นของเขาเท่านั้นเองที่เขาประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นคุณต้องเผื่อไว้อีก 99 ครั้งที่คุณออกไปแล้วมันล้มเหลว นั่นคือสิ่งที่จะต้องมาบอกกัน
และเมื่อตัดสินใจทำ ให้ทำในสิ่งที่ขายได้ มีตลาดรองรับ และอย่าไปปลูกพืชในสิ่งที่คุณทำยากแต่คนกินชอบ ทำในสิ่งที่เราชอบ ไอ้ที่ไม่ชอบก็อย่าไปทำ นี่คือสิ่งสำคัญไปทำในสิ่งที่เราไม่ชอบถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาคุณก็ถอดใจแล้วเพราะว่าเราไม่ชอบ เราทำในสิ่งที่ชอบถึงแม้ว่าไม่เป็นอย่างที่ตั้งใขสัก 99 ครั้ง คุณก็ยังสู้ ยังมีแรง แล้วการทำเขาบอกว่าไม่ใช่ว่าทำครั้งนี้ล้มเหลว ครั้งที่สองล้มเหลว แล้วครั้งที่สามมันจะล้มเหลวอีก เพราะฉะนั้นถ้าเกิดคุณทำไปเรื่อย ๆ มันก็มีวันที่คุณจะสำเร็จ แค่อดทน วันที่เรามุ่งหวังต้องมาถึงสักวัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำในสิ่งที่ใจรัก เราจะมีใจรอถึงวันนั้นได้
ก่อนจะมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรในปัจจุบัน คุณสมโภชน์ หรืออาจารย์สมโภชน์ ทับเจริญ อดีตอาจารย์และนักวิชาการเกษตร ประจำศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าให้ฟังว่า หลังจากอาจารย์เรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก็ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ชื่อสถาบันในขณะนั้น) หรือสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปัจจุบัน หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้บรรจุเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการเกษตร และอาจารย์สอนประจำศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลังจากที่อาจารย์สมโภชน์เข้ารับราชการ เป็นทั้งอาจารย์สอนนิสิต และนักวิชาการเกษตรประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเวลากว่า 27 ปี ด้วยความที่ทำงานมาเป็นระยะเวลานาน พ่อและแม่ของตนก็เริ่มแก่ชรามากขึ้น จึงคิดวางแผนที่จะกลับมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรรม บนที่ดินของพ่อและแม่จำนวนกว่า 50 ไร่ จึงเริ่มวางแผนปรับพื้นที่ ปรับปรุงดิน ขุดร่องและทำบ่อน้ำ ไว้เตรียมพร้อมสำหรับการทำการเกษตรในภายภาคหน้า จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 คุณแม่อาจารย์เสียชีวิต อาจารย์จึงตัดสินใจลาออกจากอาชีพข้าราชการ และกลับมาสานฝันการเป็นเกษตรกรของตนเอง
ในช่วงเริ่มแรกของการเป็นเกษตรกร คุณสมโภชน์เริ่มต้นด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจำนวน 14 ไร่ ซึ่งอยู่อีกฝั่งถนนตรงข้ามกันทำเป็นย่านธุรกิจใช้ชื่อ “@บางขวด” มีร้านค้า ร้านกาแฟ เน้นขายอาหารโดยนำผลผลิตจากไร่นาที่ทำ ไปขายเป็นหลัก ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง อีกส่วนเป็นพื้นที่ติดกับบ้านเนื้อที่กว่า 36 ไร่ เริ่มต้นโดยการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อให้เกิดเป็นร่มเงา มีการปลูกผักสวนครัว อาทิ จิงจูช่าย มาทำน้ำผักขาย รวมถึงวอเตอร์เครส หรือสลัดน้ำ ทั้งยังปลูกเมล่อนญี่ปุ่น โดยในสวนนี้ตนตั้งใจใช้เป็นพื้นที่สำหรับเชิงท่องเที่ยวให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรแบบ
เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นนาข้าวทั้งหมด อาจารย์เริ่มขุดบ่อนำดินมาถมด้านข้างเพื่อยกระดับพื้นนาให้มันสูงขึ้น มาเป็นเนินเป็นโคกอย่างที่เห็น แล้วปลูกต้นสัก 300 - 400 ต้น ต้นสักเป็นพืชที่ถูกควบคุมทางกฎหมาย คือปลูกได้แต่ห้ามตัด จะตัดได้ก็คือต้องไปขึ้นทะเบียนหรือไปแจ้งการปลูกก่อน ถึงจะได้ใบมา ถึงจะตัดได้ อาจารย์ก็เลยเอาพื้นที่ 50 ไร่นี้ ไปขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าเอกชน แล้วก็ไปขอจดทะเบียนเลื่อยยนต์เพื่อที่จะนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ หลังจากนั้นมา ปี พ.ศ. 2554 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ ฯ ต้นสักอายุประมาณ 13 ปี ตายทั้งหมดไม่เหลือเลย ถึงไม่ตายรากข้างล่างก็ผุหมดเหลือแต่บนดิน พอลมโยกมาก็ฟาดหลังคาข้างบ้านที่เขาเป็นหมู่บ้าน จ่ายเงินซ่อมหลังคาให้เขาไม่ทัน เพราะมีลมมาทีนึงก็ล้มไปฟาดบ้านเขา เพราะมันสูง อาจารย์เลยตัดออกหมด เหลือไม้ระเกะระกะอยู่แถวนั้น เพิ่งจะสามปีที่แล้วที่ลากไม้เข้ามาเพื่อที่จะเลื่อย แล้วนำตัวไม้ไปทำร้านค้าข้างนอก
หลังจากนั้นมา ปี พ.ศ. 2557 คุณแม่อาจารย์เสียชีวิต เหลือคุณพ่ออีกหนึ่งท่าน อาจารย์จึงตัดสินใจลาออก อาจารย์เริ่มจากทำคันล้อมในพื้นที่ 34 ไร่ ดึงคันล้อมสูงประมาณ 4 เมตร ขุดสระลึกลงไปประมาณสัก 50 เซ็นติเมตร หลังจากทำคันล้อมเสร็จเรียบร้อยก็เริ่มหาต้นไม้ที่มันป้องกันลม แล้วก็ปลูกกล้วยลงไปเพื่อให้ได้ผลผลิต และทำพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นเกษตรเชิงธุรกิจและเชิงท่องเที่ยว อยู่กลางใจเมือง เพราะคิดว่า คนบ้านนอกอยากเข้ามาในเมืองดูแสงสี แต่คนกรุงอยากไปบ้านนอกหาความสงบ จึงมีแนวคิดว่า จะทำกรุงเทพฯ ให้เป็นบ้านนอก เพื่อให้คนแถวนี้ได้มาเที่ยว มากิน สร้างบรรยากาศบ้านนอกที่อยู่ในเมืองกรุง
เมื่อคิดได้ดังนี้ อาจารย์ได้แบ่งที่ดินจำนวน 50 ไร่เป็น 2 ส่วน โดย 14 ไร่ ซึ่งอยู่อีกฝั่งถนนตรงข้ามกันทำเป็นย่านธุรกิจใช้ชื่อ “@บางขวด” มีร้านค้า ร้านกาแฟ เน้นขายอาหารโดยนำผลผลิตจากไร่นาที่ทำ ไปขายเป็นหลัก ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง อีกฝั่งที่ติดกับบ้านเนื้อที่ 36 ไร่ ปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงา ทำนาข้าวไรซ์เบอร์รี่ เลี้ยงปลา ปลูกพืชผักต่างๆ เช่น จิงจูช่าย มาทำน้ำผักขาย รวมถึงวอเตอร์เครส หรือสลัดน้ำ ทั้งยังปลูกเมล่อนญี่ปุ่น ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ให้คนเข้ามาเรียนรู้
อ.สมโภชน์ กล่าวว่า การเพาะปลูกของตนเน้นที่เกษตรเพื่อชีวิต ไม่ใช่เกษตรเพื่อความตาย ผลไม้ พืชผักต่างๆ ในสวนนี้ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมี แต่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ เพราะอาจารย์ใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์แต่ใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพราะเกษตรอินทรีย์หรือออแกนิกนั้นจริงๆแล้ว ต้องเริ่มตั้งแต่อาหารที่มาหล่อเลี้ยงพืชต้องออแกนิกด้วย เลี้ยงสัตว์แล้วนำมูลมาทำปุ๋ย คือทุกอย่างจะต้องผ่านขั้นตอนออแกนิกมาก่อน แล้วจึงนำมาใช้ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ออแกนิกจริงๆ ในเมืองไทยมีไม่กี่แห่ง แต่ของอาจารย์เน้นเรื่องเกษตรปลอดภัยมากกว่า
ในปัจจุบัน อาจารย์มีรายได้จากการปลูกข้าวบนพื้นที่ 3 ไร่ ทำไว้กินและเหลือขายบ้างเล็กน้อย และตั้งใจไม่ปลูกพร้อมๆ กัน เพื่อให้คนมาเที่ยวชมแปลงนาข้าว ได้เห็นทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว ตั้งแต่ปักดำ ตั้งท้อง เก็บเกี่ยว และเพื่อป้องกันนกมากินข้าว เช่น นกกระติ๊บขี้หมู นกกระจาบ ซึ่งคนนิยมนำมาปล่อยทำบุญ เลยต้องกางมุ้งคลุมนาข้าวในระยะที่กำลังออกรวง ผลผลิตตก ใช้ระยะเวลาปลูก 120 วันหรือประมาณ 4 เดือน มีต้นทุนปลูก 4-5 พันบาทต่อไร่ ในหนึ่งไร่จะได้ผลผลิต 500 กิโลกรัม เก็บไว้กินเอง 50 กิโลกรัม ทำพันธุ์ 50 กิโลกรัม นำไปขายที่ร้าน @ บางขวด กิโลกรัมละ 90 บาท หักค่าแรง ค่าเก็บเกี่ยวซึ่งใช้วิธีลงแขกให้ญาติพี่น้องมาช่วยกัน ค่าน้ำมัน ที่เหลือเป็นกำไรตกไร่ละกว่าหนึ่งหมื่นบาท
คุณสมโภชน์ ทับเจริญ ที่อยู่ บ้านเลขที่ 3 ซอยนวลจันทร์ 56 แยก 5 ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ


