คลิปเกษตร
คุณปรีชา เล่าว่า ดินดีต้องมีที่มาที่ไป มีเหตุและผล ซึ่งดินจะดีขึ้นมาเองไม่ได้ ต้องมีปัจจัยร่วมที่สำคัญ อย่างจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักสารสกัดจากพืชสีเขียว (ดินหอม)ต้องทำด้วยแรงงานที่มาจากคน ไม่ใช้เครื่องจักร เพราะเครื่องจักรจะเป็นตัวรบกวนการทำงานของจุลินทรีย์ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ก่อนการทำดินหอมได้ต้องเริ่มการผลิตสารสกัดจากพืชสีเขียวและหมักทิ้งไว้ 15 วัน จากนั้นจึงนำน้ำหมักมาผสม โดยส่วนผสมที่ใช้ คือ ดินธรรมดาทั่วไป 3 ส่วนนำมาผสมกับแกลบดำหรือแกลบเผา 2 ส่วน โดยเทแกลบดำก่อน 1 ครั้งตามด้วยดิน สลับกันไปจนถึงชั้นสุดท้ายต้องให้เป็นแกลบ ใน 1 กองไม่ควรใส่แกลบเกิน 500-1000 กิโลกรัม จากนั้นใช้น้ำสารสกัดจากพืชสีเขียว หรือเซรั่มน้ำนมที่ได้จากนมสดหรือมะพร้าว นำใส่ฝักบัวแล้วจึงค่อย ๆ รดกระจายไปให้ทั่วดิน ไม่แฉะ เพราะต้องการให้อุณภูมิอยู่ที่ 30-40 องศาเซลเซียส เป็นการเร่งให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีที่สุดภายใน 20 วัน และต้องรดน้ำถึง 3 ครั้ง จากนั้นใช้มือโกยออกรอบ ๆ แล้วรดน้ำครั้งที่ 2 ทำสลับกันจนครบ 3 ครั้ง สุดท้ายนำดินไปกองเป็นแนวยาวเกลี่ยให้เท่า ๆ กันแล้วจึงนำสแลมมาปิดเพื่อรักษาอุณหภูมิ
3 เมษายน 2558
5,743
คลิปเกษตรใหม่ล่าสุด
ปัจจุบันการทำนาข้าวนิยมใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรและสารเคมีมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและการจัดการที่ยุ่งยากขึ้น จากการสัมภาษณ์คุณลุงเสวต จรรทะนา ชาวนาในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ประกอบอาชีพทำนามาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ได้แนะนำวิธีการทำให้ดินในนาข้าวไม่แน่นและแข็ง มีความนวลเหมาะแก่การปลูกข้าว รากของข้าวสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพที่ทำขึ้นเองผสมบริเวณต้นทางน้ำระหว่างที่กำลังสูบน้ำเข้าในแปลงนา ส่วนผสมของน้ำหมักประกอบด้วย 1.EM 2.สารเร่ง พด.2 3.กากปลา 4. น้ำสะอาด ผสมให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 2 เดือน จากนั้นนำส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ที่ตกตะกอนแล้ว นำมาหยดหรือเทลงน้ำระหว่างที่กำลังสูบน้ำเข้าแปลงนาโดยนา 1ไร่ ใช้น้ำหมักชีวภาพจำนวน 7 ลิตร วิธีนี้จะช่วยให้ดินในแปลงนามีสภาพดีและต้นข้าวสามารถดูดซึมธาตุอาหารและน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้ชาวนาได้เป็นอย่างดี ด้วยคำยืนยันจากคุณลุงเสวต จรรทะนา
1 เมษายน 2558
5,131
คุณนรินทร์ จงกล เกษตรกรที่เก่งในการเกษตรแบบผสมผสาน และวิธีการเพิ่มผลผลิตที่หลากหลาย วันนี้ได้แนะนำถึงการทำปุ๋ยหมักแก้ไขปัญหาดินเค็มในนาข้าวแบบลดต้นทุนด้วยวิธีการ ง่ายๆ ดังนี้ เพียงใช้มูลหมูหลุม 30 กิโลกรัม แกลบดิบ 5 กิโลกรัม รำอ่อน 6 กิโลกรัม นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำกากน้ำตาล 250 มิลลิลิตร จุลินทรีย์ EM 500 มิลลิลิตร น้ำหมักผลไม้ 500 มิลลิลิตร น้ำสะอาด 10 ลิตร แล้วผสมคนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปรดบนบนกองปุ๋ยที่เตรียมไว้ได้ แล้วคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้เป็นเวลา 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ในนาที่มีดินเค็มได้ทันที ประโยชน์ที่ได้คือ ปุ๋ยหมักที่ได้จะช่วยบำรุงหน้าดินได้เป็นอย่างดี แล้วช่วยป้องกันปัญหาดินเค็มในข้าว
9 มีนาคม 2558
5,632
คุณปรีชา บุญท้วม เกษตรกร ตำบลห้วยทับมอญ กิ่งอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการทำน้ำสารสกัดจากพืช ได้ให้ข้อมูลว่า การทำน้ำสารสกัดจากพืชนั้นเป็นการเลือกเอาจุลินทรีย์ที่อยู่ในพืชรวมถึงธาตุอาหารและน้ำเลี้ยงของพืชแต่ละชนิดมาใช้งาน ซึ่งมีขั้นตอนและช่วงเวลาในการตัดพืช เวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงเวลาเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ตีห้าถึงหกโมงครึ่งโดยประมาณ เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่จุลินทรีย์กำลังลำเรียงสารอาหาร จากนั้นให้เรานำมาคัดเลือกแต่ส่วนที่ดีที่สุด ส่วนที่เน่าเสียหายให้ตัดทิ้ง จากนั้นให้ตัดเป็นท่อนกลม ๆ ประมาณหนึ่งนิ้วใช้ได้ทั้งต้นและใบ พืช 1 กิโลกรัมใช้น้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลทรายแดงประมาณ 8 ขีดเหลืออีก 2 ขีดใช้โรยหน้า ระหว่างเคล้าให้ใส่ทีละกำมือเคล้าไปเรื่อยจนครบสัดส่วนจากนั้นนำถังหมักแล้วโรยด้วยน้ำตาลอีก 2 ขีดที่เหลือ ปิดฝาธรรมดาไม่ต้องรัดแน่น จากนั้นลงวันที่หมักไว้ข้างถัง ทิ้งไว้ 20 วัน จึงกรองน้ำไปใช้ได้ ซึ่งสามารถใช้ได้ครั้งเดียวเพราะจุลินทรีย์สามารถผลิตได้ครั้งเดียว ส่วนกากที่เหลือนำไปทิ้งโคนต้นไม้เพื่อเป็นปุ๋ยต่อไปได้
19 กุมภาพันธ์ 2558
5,811
คุณธงชัย ก้อนทอง เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไส้เดือน "สีทองฟาร์ม" แนะนำเคล็ดลับวิธีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง โดยใช้ไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศ "แอฟริกันไนท์ครอเลอร์" ที่มีความสามารถในการช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุได้ดี อีกทั้งยังขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและมีความทนทานต่อทุกๆสภาพแวดล้อมสูง ซึ่งคุณธงชัยได้เลือกเอาเศษผัก ผลไม้ เศษอาหาร มูลโค มูลสุกร ขุยมะพร้าวสับ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปุ๋ยและเป็นอาหารของไส้เดือนสายพันธุ์ดังกล่าว โดยใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเพียง 1 สัปดาห์ก็จะสามารถเก็บเอาอินทรียวัตถุที่ถูกย่อยสลายและถูกขับถ่ายออกมาในรูปแบบของมูลไส้เดือนทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อาทิ นำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรต่างๆ หรือนำไปใช้เป็นปุ๋ยรองพื้นสำหรับปลูกพืชได้ทุกชนิด ซึ่งจากการที่นำเอาปุ๋ยมูลไส้เดือนไปทำการตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์จะพบว่าภายในเนื้อปุ๋ยจะมีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองในปริมาณที่สูงกว่าปุ๋ยหมักโดยทั่วไป
19 กุมภาพันธ์ 2558
7,587
จากการลงพื้นที่ของทีมงานรักบ้านเกิด จ.นครราชสีมา ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับ คุณนรินทร์ จงกล เกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน และวิธีการเพิ่มผลผลิตที่หลากหลาย ได้แนะนำถึงการทำน้ำหมักผลไม้แบบลดต้นทุนเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงใช้ กล้วยน้ำว้าสุก 1 กิโลกรัม เปลือกสัปปะรส 1 กิโลกรัม มะละกอสุก 1 กิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม EM 3 ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด 10 ลิตร คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน โดยหมักทิ้งไว้เป็นเวลา 15 วัน หลังจากหมักได้ที่แล้วก็สามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยการนำไปใช้นั้น นำน้ำหมักที่ได้ 1 ลิตร ผสมน้ำเปล่า 5 ลิตร นำไปผสมกับอาหารสัตว์ได้เลย ประโยชน์ของน้ำหมักนี้ จะช่วยให้สัตว์โตไว และให้สัตว์แข็งแรง ไม่มีโรค
21 มกราคม 2558
6,910
เกษตรกรที่สนใจในการทำน้ำหมักสูตรต่างๆเพื่อนำมาใช้บำรุงพืชผัก ไม้ผล แนะนำน้ำหมักสับปะรดเพื่อใช้เป็นฮอร์โมนบำรุงสับปะรดและพืชชนิดอื่นให้เจริญเติบโตได้ดีหรือนำไปฉีดพ่นบริเวณหน้ายางแล้วไหลลงไปผสมกับน้ำยางพาราในถ้วยรับยาง สามารถทำให้น้ำยางแข็งตัวได้อย่างรวดเร็ว หน้ายางไม่เป็นโรค น้ำยางมีประสิทธิภาพด้วยสูตรการทำจาก คุณเชาวลิต ถึงเสียบญวน ประธานกลุ่มศูนย์เรียนรู้การปลูกสับปะรดสวี หมู่ที่ 11 บ้านดอนทราย ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ได้นำสัปปะรดที่มีอยู่ในศูนย์มาทำน้ำหมักดังนี้ 1.เศษสับปะรดสุกจัด 40 กก. 2.กากน้ำตาล 10 กก. น้ำสะอาด 10 ลิตร 4.สารเร่ง พ.ด. 2 1 ซอง วิธีการทำ นำผลสับปะรดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในถังหมัก แล้วเติมกากน้ำตาล จากนั้นนำสารเร่ง พ.ด. 2 มาละลายกับน้ำ เทใส่ถังหมัก แล้วกวนส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปิดฝา ในระหว่างการหมักช่วงแรกให้กวนส่วนผสมทุก 5 วัน/ครั้ง เมื่อครบกำหนด 15 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้โดยใช้ในอัตรา น้ำหมัก 1 ลิตร /น้ำ 100 ลิตร
21 มกราคม 2558
8,327
คลิปเกษตรแนะนำ