wastegetable หรือ นครแห่งการแปลงเศษอาหารให้กลายเป็นสวนผักกลางเมือง เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่เห็นการบริหารจัดการขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร) ให้เกิดเป็นคุณค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Ecomony) รูปแบบหรือโมเดลของการดำเนินการคือ การนำขยะอินทรีย์ไปทำประโยชน์เป็นปุ๋ยหมัก แล้วนำปุ๋ยหม้กนั้นไปปลูกผัก เพื่อให้คนเมืองมีผักที่ปลอดภัยบริโภค
wastegetable มีโครงการนำร่องในสองพื้นที่คือ ย่านอนุสาวีย์ชัยสมรภูมิ และย่านเจริญกรุง
โดยเน้นไปที่การจัดการขยะเศษอาหาร ซึ่งเป็นขยะที่มีปริมาณมากที่สุด ทั้งยังเป็นปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรใดลงมาพัฒนาอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการจัดการที่ยากลำบาก เกี่ยวเนื่องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองที่ต้องพึ่งอาหารเตรียมสำเร็จ และยังไม่ค่อยมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะเศษอาหารออกจากขยะประเภทอื่นเท่าใดนัก
โดยเน้นไปที่การจัดการขยะเศษอาหาร ซึ่งเป็นขยะที่มีปริมาณมากที่สุด ทั้งยังเป็นปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรใดลงมาพัฒนาอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการจัดการที่ยากลำบาก เกี่ยวเนื่องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองที่ต้องพึ่งอาหารเตรียมสำเร็จ และยังไม่ค่อยมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะเศษอาหารออกจากขยะประเภทอื่นเท่าใดนัก
ทั้งนี้กระบวนการทั้งหมดเป็นการจัดการขยะอินทรีย์ (ขยะเปียกหรือขยะเศษอาหาร) โดยการจัดการในกระบวนการทั้งหมดจะเริ่มตั้งแต่การแยกขยะเศษอาหารออกจากขยะประเภทอื่น เพื่อนำมาหมักหรือจัดการเปลี่ยนขยะให้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของปุ๋ยและดินเพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชผักต่อไป
ซึ่งในกระบวนการจัดการนี้นอกจากจะเป็นการช่วยจัดการขยะอินทรีย์และยังช่วยในการจัดสรรพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น ดาดฟ้าให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดพร้อมทั้งสร้างรายได้และช่วยลดขยะไปพร้อมกัน ส่วนความกังวลในเรื่องของกลิ่น จากกระบวนการทำจะเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงหมดกังวลในเรื่องของกลิ่นและแมลง ไม่สร้างความรบกวนต่อผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียงอย่างแน่นอน
นอกจากนี้พื้นที่นำร่องที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์วัน เป็นศูนย์กลางการจัดกระบวนการรวบรวมขยะเศษอาหารแปลงเป็นก๊าสหุงต้ม (Bio Gas) และปุ๋ย โดยการลงทุนติดตั้งเครื่องผลิตปุ๋ยและก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารด้วยเทคโนโลยีเครื่อง Cow Tech (ที่มีปริมาณรองรับเศษอาหารวันละ 150 ถึง 200 กิโลกรัม) และเปลี่ยนดาดฟ้าอาคารที่มีพื้นที่ประมาณ 800-1,000 ตารางเมตร ให้เป็นสวนผักดาดฟ้ากลางเมือง เพื่อผลิตผักสลัดจากดิน
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เฟซบุ๊ก : wastegetable
และ Bangkok Rooftop Farming - ฟาร์มบนดาดฟ้า
เฟซบุ๊ก : wastegetable
และ Bangkok Rooftop Farming - ฟาร์มบนดาดฟ้า